(คลิป) วิธีทำไบโอดีเซล B100 ง่ายๆ ใช้เอง ใช้จริง : วีดีโอ เกษตร
- Genres:รถยนต์, วีดีโอทั้งหมด, สาระน่ารู้, เครื่องมือเกษตร+DIY
(คลิป) วิธีทำไบโอดีเซล B100 ง่ายๆ ใช้เอง ใช้จริง : วีดีโอ เกษตร
วิธีทำไบโอดีเซล B100 ง่ายๆ ใช้เอง ใช้จริง
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปด้านบนได้เลยครับ
+++ ความรู้เพิ่มเติม +++
ไบโอดีเซล
ไบโอดีเซล (อังกฤษ: biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้ทดแทนกันได้
คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
นิยาม
ไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล จัดเป็นสารประเภทเอสเทอร์ทำจากน้ำมันพืชผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่นเมทานอล หรือเอทานอล และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีลักษณะเป็นเอสเตอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester
การเรียกชื่อประเภทของไบโอดีเซลขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น เมทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือเอทิลเอสเตอร์ เป็นเอสเตอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น[1] ไบโอดีเซลแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ[2]
– ไบโอดีเซลที่ได้จากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้เลย
– ไบโอดีเซลแบบผสม เป็นการนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์มาผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดีเซล ก่อนนำไปใช้เช่น โคโคดีเซล (Coco-diesel) และปาล์มดีเซล (Palm-diesel) เป็นต้น
– ไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์ ได้จากปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterification process) ซึ่งนำแอลกอฮอล์มาทำปฏิกิริยากับน้ำมันจากพืชหรือสัตว์โดยใช้กรด หรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
การผลิต
ในปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล ยังมีราคาแพงกว่าดีเซลจากปิโตรเลียมเมื่อไม่นับรวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิต ในประเทศเยอรมนี ในปีพ.ศ. 2548 มีกำลังการผลิต 2 ล้านตันต่อปี ราคาจำหน่ายตามสถานีประมาณ 45 บาทต่อลิตร ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลเพราะมีการยกเว้นภาษีสรรพสามิต
ประเทศไทยริเริ่มโครงการไบโอดีเซลเมื่อ ปีพ.ศ. 2543 และได้มีการติดตั้งระบบผลิตเอทธิลเอสเตอร์โดยโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และได้มีการพัฒนาโครงการไบโอดีเซลชุมชนที่ จ.เชียงใหม่ (มีนาคม พ.ศ. 2549) มีไบโอดีเซล 5% (B5) จำหน่ายในสถานีของ ปตท. และบางจาก ในกทม. และเชียงใหม่ (ตามโครงการล้านนาฟ้าใสไบโอดีเซล) ทั้งหมด 15 สถานี ปัจจุบัน มีไบโอดีเซล 10% (B10) มีส่วนประกอบของน้ำมันไบโอดีเซล 10% และดีเซล 90% ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น ปาล์มน้ำมัน คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม น้ำมันดีเซล B10 เหมาะสำหรับกลุ่มรถบรรทุก และรถกระบะ ที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้ได้เท่านั้น จำหน่ายในสถานีของ ปตท., เชลล์, พีที, คาลเท็กซ์, ซัสโก้, เอสโซ่, ไออาร์พีซี และบางจาก ใน 14 จังหวัด
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
– น้ำมันปาล์มดิบ
– น้ำมันมะพร้าว ราคาวัตถุดิบต่ำ แต่เสถียรภาพด้านปริมาณและมูลค่าเพิ่มไม่ดีเท่าน้ำมันปาล์มดิบ
– น้ำมันสบู่ดำ
– น้ำมันดอกทานตะวัน
– น้ำมันแรพซีด (rape seed oil)
– น้ำมันถั่วเหลือง
– น้ำมันถั่วลิสง
– น้ำมันละหุ่ง
– น้ำมันงา
– น้ำมันพืชใช้แล้ว มีปัญหาเรื่องการปนเปื้อนในรูปของน้ำและตะกอน
– น้ำมันยางนา
– น้ำมันกัญชง
– น้ำมันต้นศรีทอง
ขั้นตอนการผลิต
การทำไบโอดีเซล
1. ขั้นตอนจากพืชน้ำมันไปเป็นน้ำมันพืช
2. ขั้นตอนจากน้ำมันพืชไปเป็นไบโอดีเซล
ขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซล
1. นำน้ำมันพืชที่ได้จากพืชน้ำมันมาผสมทำปฏิกิริยากับเมทานอล (methanol) กับสารเร่งปฏิกิริยา ซึ่งจะได้เป็นไบโอดีเซล กับกลีเซอรีน
2. แยกกลีเซอรีนออก ทำความสะอาดไบโอดีเซล
มาตรฐานคุณภาพ
1. ตัวจุดวาบไฟ (flash point) โดยปกติมาตรฐานจะอยู่ที่ 130 ถ้าหากสูงกว่านี้ คือเป็น 150 หรือ 170 จะทำให้รถสตาร์ทติดยาก
2. ความบริสุทธิ์ของไบโอดีเซล
ข้อแตกต่างระหว่างไบโอดีเซลกับน้ำมันดีเซล
– จุดวาบไฟของน้ำมันดีเซลต่ำ ประมาณ 50 กว่า ในขณะที่จุดวาบไฟของน้ำมันไบโอดีเซล ประมาณ 100 กว่าขึ้นไป
– น้ำมันดีเซลมีกำมะถันสูง แต่น้ำมันไบโอดีเซลไม่มี
ผลต่อการทำงานของรถยนต์
ไบโอดีเซลช่วยหล่อลื่นแทนกำมะถัน และลดฝุ่นละอองหรือควันดำ ที่เรียกว่า particulate matter ให้ต่ำลง โดยไม่ทำให้เครื่องยนต์อุดตันเพราะเผาไหม้หมด
ที่มา Youtube Channel : พระเมฆ story
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=vXpjCJEDSds