การทำปุ๋ยหมัก เทียบเคียงปุ๋ยเคมีในสูตรต่างๆ
การผลิตปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมีนั้นสามารถทำได้เองจากวัสถุ ดิบที่หาได้ตามท้องถิ่นทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคา แพงได้ ซึ้งการผลิตปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมีทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยได้ ถึง 10 เท่า โดยมีวิธีทำและขั้นตอนการทำดังนี้
วิธีทำปุ๋ยหมักเทียบเคียงปุ๋ยเคมี
1. ปุ๋ยหมักสูตร 16-16-16 และปุ๋ยหมักชีวภาพสูตร 15-15-15
วัตถุดิบต่อส่วนผสม
1. รำอ่อน 1 ส่วน
2. ดินดี 1 ส่วน
3. แกลบดิบ 1 ส่วน
4. แกลบดำ 1 ส่วน
5. มูลสัตว์ 1 ส่วน
6. พืชตระกูลถั่ว 1 ส่วน
2. ปุ๋ยหมักสูตร 16-20-0
วัตถุดิบต่อส่วนผสม
1. รำอ่อน 1 ส่วน
2. ดินดี 2 ส่วน
3. แกลบดิบ 4 ส่วน
4. แกลบดำ 4 ส่วน
5. มูลสัตว์ 4 ส่วน
6. พืชตระกูลถั่ว 4 ส่วน
ขั้นตอนและวิธีการทำปุ๋ยหมักสูตรดังกล่าว
1. นำส่วนผสมทั้งหมด(ยกเว้นรำอ่อนให้ใส่หลังสุด) นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. เกลี่ยส่วนผสมออกเป็นวงกลมแล้วนำน้ำหมักที่ผสมไว้แล้วราดลงไปให้ทั่วกองปุ๋ยโดยให้เปียกพอประมาณ ความชื้นประมาณ 60% โดยอัตราส่วนในการผสมน้ำหมักชีวภาพ นำกากน้ำตาล 2 ช้อนแกงลงผสมกับน้ำหมัก 2-8 ช้อน แล้วเติมน้ำ 20 ลิตรคนให้เข้ากันนำใส่บัวรดน้ำรดกองปุ๋ย
ข้อแนะนำและควรปฏิบัติ
1. ในการผสมปุ๋ยและเก็บปุ๋ยควรทำในร่มหรือในโรงเรือน
2. ในระยะ 7 วันแรกปุ๋ยจะมีความร้อนสูง ควรพลิกกลับปุ๋ยทุกวันในระยะ 2-7 วันแรก
3. การเก็บปุ๋ยไม่ควรซ้อนกันเกิน 5 ชั้น
4. หลังจากปุ๋ยคลายความร้อนแล้วนำไปใช้งานได้
5. น้ำที่ใช้ผสมกับกากน้ำตาลหรือน้ำหมักให้ใช้น้ำซาวข้าวแทนได้จะทำให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การผลิตปุ๋ยหมักสูตร “ #โคบาชิ ” เทียบเคียงปุ๋ยเคมี 46-0-0
วัสดุสำหรับการผลิตปุ๋ยสูตรเทียบเคียงปุ๋ย 46-0-0(โบโบชิ)
1. รำ 1 กระสอบ
2. แกลบดิบ 1 กระสอบ
3. มูลไก่ 1 กระสอบ
4. ขี้ค้างคาว 6 กิโลกรัม
5. น้ำหมักชีวภาพ พด.2 หรือ EM
6. กากน้ำตาล
วิธีการทำ
1. ผสมรำ แกลบดิบ มูลไก่ ขี้ค้างคาว คนให้เข้าด้วยกันกองบนพื้นราบ
2. ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด. 2 ถ้าไม่มีให้ใช้ EM พร้อมกับใช้กากน้ำตาลรดบนกองขณะผสมวัสดุทำปุ๋ยให้ได้ความชื้นที่ 60 % วัดความชื้นที่เหมาะสมได้จากการกำวัสดุที่ผสมแล้วให้แน่นแล้วปล่อยให้อยู่ใน อุ้งมือ ถ้าความชื้น 60 % จะติดกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน
3. ตักปุ๋ยที่ได้บรรจุใส่ในกระสอบฟาง อย่าใส่จนเต็มกระสอบ จากนั้นมัดปากกระสอบ เก็บเข้าไว้ในที่ร่ม หมั่นกลับกระสอบทุกวัน โดยวันแรกวางกระสอบไว้แนวนอน
4. จากนั้นกลับกระสอบไปมาวันละ 1 ครั้งจนครบ 7 วัน ในวันที่ 7 ให้วางกระสอบในแนวตั้งจากนั้นเปิดปากกระสอบระบายความร้อนทิ้งไว้อีก 1 คืน จะได้ปุ๋ยหมักโบโบชิสามารถนำไปใช้ได้
วิธีการนำไปใช้
– ใช้หว่านบนแปลงปลูกพืช ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตรแทนการใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0