(คลิป) ดูให้เป็นแนวทาง ปูนาขาเก พร้อมเปย์ เดือนนึงหลักแสน เกษตรเลี้ยงปู : วีดีโอ เกษตร
ปูนา (อังกฤษ: Ricefield crabs) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทปูน้ำจืดในวงศ์ Parathelphusidae ในสกุล Somanniathelphusa แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่าปูนา
ปูนาแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงบางพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เกษรกรผู้ปลูกข้าวในไทย ถือว่าปูนาเป็นศัตรูพืชของข้าว เพราะปูจะกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ ๆ ทำให้ชาวนาต้องปักดำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนี้ ปูยังขุดรูตามคันนา ทำให้คันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ แต่ปูนาก็เป็นอาหารราคาถูกและหาง่ายโดยเฉพาะกับวิถีชีวิตผู้คนในชนบท และเป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ส้มตำ
ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้
1. Somanniathelphusa germaini พบใน 27 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคใต้ 1 จังหวัดและภาคเหนือ 1 จังหวัด
2. Somanniathelphusa bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
3. Somanniathelphusa sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
4. Somanniathelphusa maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่พบในแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
5. Somanniathelphusa fangensis เป็นปูชนิดใหม่ที่พบในจังหวัดลำปางและเชียงใหม่
6. Somanniathelphusa denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบในจังหวัดแพร่
7. Somanniathelphusa nani เป็นปูชนิดใหม่ล่าสุดที่พบในจังหวัดน่าน
8. Somanniathelphusa dugasti (หรือ Esanthelphusa dugasti ในอดีต) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด
ปูนาบางชนิดเช่น S. dugasti มีอาณาเขตการแพร่กระจายกว้างมากถึง 40 จังหวัด ในภาคกลางมีปูอยู่ถึง 3 ชนิด ในภาคใต้พบมี 2 ชนิด ทางภาคเหนือบางจังหวัดพบมีชนิดเดียว
ปูนาจะพบมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่อุดมสมบูรณ์ เพราะวิถีชีวิตของปูนาจะผูกพันกับน้ำ โดยผสมพันธุ์และวางไข่เพียงปีละครั้ง ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม ปูนาตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูให้สูงกว่าระดับน้ำ เพื่อเตรียมอุ้มไข่และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน ใช้การลอกคราบราว 13-15 ครั้ง หลังจากฟักเป็นตัว ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนจึงโตเต็มวัย นอกจากนี้แล้วจากการศึกษาพบว่าเปลือกของปูนามีสารไคตินสูงถึงร้อยละ 19.27 ในสภาพน้ำหนักแห้ง ในขณะที่เปลือกของปูทะเลมีเพียงร้อยละ 14.14 เท่านั้น ดังนั้นเปลือกของปูนาจึงมีประโยชน์ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตไคโตซานได้เป็นอย่างดีกว่าสัตว์จำพวกครัสเตเชียนอย่างอื่น
ที่มา Youtube : เกษตรกรไทย สร้างรายได้
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=7j-agJy4KkY