(คลิป) ย้อนรอยโครงการของจีน เกี่ยวกับแม่น้ำโขง : วีดีโอ เกษตร
เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง 11 แห่ง ในประเทศจีนไม่ใช่โครงการใหญ่ชุดเดียวที่มหาอำนาจจีน ทำในแม่น้ำโขง แต่ยังมีโครงการอีกจำนวนหนึ่งในแถบลุ่มน้ำโขงที่จีนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง
เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีน ถูกพูดถึงกันมาอย่างยาวนานและก่อผลกระทบให้ชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำโขงในไทยที่ จ.เชียงราย ชายแดนไทย – ลาว ที่ต้องเผชิญกับภาวะน้ำโขงขึ้นลงผันผวนผิดธรรมชาติ และจนถึงขณะนี้จีนก็ก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงที่จีนถือเป็นสายน้ำในประเทศของตนเองชื่อแม่น้ำล้านช้าง เกิดขึ้นแล้วทั้งหมด 11 แห่ง
ข้อมูลดาวเทียมชี้เขื่อนจีนกักน้ำมหาศาล ทำให้ปลายน้ำโขงแห้งแล้งรุนแรงขึ้น เกิดอะไรขึ้นกับไทย เมื่อจีนและลาวไม่ระบายน้ำจากเขื่อนบนแม่น้ำโขง แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านของจีนอย่างไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แม่น้ำสายนี้คือมหานทีหล่อเลี้ยงผู้คน กว่า 60 ล้านชีวิต
จนถึงขณะนี่้มีโครงการอะไรบ้างที่จีนลงมือทำไปแล้วในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างนี้
เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีน 11 แห่ง
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยสติมสันเซ็นเตอร์ (Stimson Center) ในสหรัฐฯ ตีพิมพ์รายงานศึกษาเกี่ยวกับเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงของจีนว่า เขื่อนแห่งแรกในจีน คือ เขื่อนม่านวาน (Manwan) ในมณฑลยูนนาน ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 1993 ส่วนเขื่อนแห่งที่ 11 ได้แก่ เขื่อนวุ่นอองหลง (Wunonglong) ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเมื่อปลายปี 2008
หากดูตามแผนที่เส้นทางแม่น้ำโขงที่ไหลลงจากต้นกำเนิดในทิเบตผ่านจีนในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนจะเห็นได้ว่า เขื่อนทั้ง 11 แห่ง มีลักษณะเป็น “เขื่อนขั้นบันได” หรือ Lancang cascade ชื่อที่จีนใช้อ้างอิง ในแถลงการณ์ทางการทูต
ในบรรดาเขื่อน 11 แห่งนี้ เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการรณรงค์ประเทศไทย องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) เห็นว่าเขื่อนที่สำคัญคือ “เขื่อนจิงหง” (Jinghong dam) ตั้งอยู่ในเมืองเชียงรุ้ง ดินแดนสิบสองปันนา เป็นเขื่อนตอนล่างสุดและใกล้ชายแดนไทยมากที่สุด คือห่างจากบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงรายราว 340 กิโลเมตร
แต่เขื่อนที่ก่อสร้างบนแม่น้ำในเขตประเทศจีนส่งผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ถัดลงมาอย่างไร
และปัญหาที่ชาวบ้านริมแม่น้ำโขงใน อ.เชียงแสน อ.เชียงของ และ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ประสบมาเป็นเวลากว่า 25 ปี คืออะไร
เพียรพร ให้ข้อมูลว่า เขื่อนบนแม่น้ำโขงในจีนสามารถควบคุมระดับน้ำ ส่งผลกระทบให้ระดับน้ำ ในแม่น้ำโขงท้ายน้ำ บริเวณพรมแดนไทย- ลาว ผันผวนขึ้นลงไปตามการใช้งานของเขื่อนผลิตไฟฟ้าในจีน
เกษตรกรรมริมแม่น้ำโขง หนึ่งในอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำขึ้นลงไม่เป็นไปตามฤดูกาล ทั้งหน่วยงานที่ดูแลการจัดการน้ำของรัฐบาลไทยอย่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ก็เคยระบุว่าภาวะน้ำแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงเมื่อเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว แม้ส่วนหนึ่งจะเกิดจากปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ และการเดินเครื่องทดสอบผลิตไฟฟ้า ของเขื่อนไซยะบุรีในลาว แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ สนทช. ชี้แจงต่อสาธารณะ คือ การลดระดับการระบายน้ำจากเขื่อนจิ่งหงในจีน ซึ่งทางการจีนได้แจ้งไทยอย่างเป็นทางการว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการระบายน้ำในช่วงวันที่ 9-18 ก.ค.2562 เนื่องจากการดำเนินการบำรุงรักษา สายส่งไฟฟ้าของโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
“เขื่อนของจีนที่สร้างแล้ว ก็มีการปรึกษาหารือกันต่อไป เดี๋ยวนี้แม่น้ำโขงอาจจะไม่มีฤดูน้ำหลากหรือฤดูแล้งแล้ว มันอาจจะมีปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ฤดูฝนฤดูแล้งปั่นป่วน” นายอนุลัก กิตติคุน ผอ. ฝ่ายยุทธศาสตร์และหุ้นส่วน สำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง บอกกับบีบีซีไทย นอกรอบเวทีประชุมคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เมื่อเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว
แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่าน อ.สังคม จ.หนองคาย เหือดแห้งจนเห็นสันดอนทรายกลางแม่น้ำ ภาพนี้บันทึกไว้เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2562 ก่อนที่เขื่อนไซยะบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากจุดนี้ไปประมาณ 300 กม. จะเริ่มเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อ 29 ต.ค. อายส์ ออน เอิร์ธ อิงค์ บริษัทวิจัยที่รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ทุนสนับสนุน เปิดเผยผลการศึกษาที่ชี้ว่าเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีนกักน้ำไว้ปริมาณมหาศาลในช่วงที่ประเทศลุ่มน้ำโขงประสบปัญหาภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรงเมื่อปีที่แล้ว ในขณะที่ระดับปริมาณน้ำเฉลี่ยในจีนสูงกว่าประเทศที่อยู่ตอนล่าง
ด้านกระทรวงการต่างประเทศของจีนได้ออกมาโต้แย้งผลการศึกษาดังกล่าว
“คำอธิบายที่ว่าการสร้างเขื่อนของจีนในแม่น้ำล้านช้าง (แม่น้ำโขง) เป็นสาเหตุที่ทำให้ปลายน้ำแห้งแล้ง เป็นเรื่องไม่มีเหตุผล” กระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุในแถลงการณ์ที่ชี้แจงกับสำนักข่าวรอยเตอร์ และระบุอีกว่าเมื่อปีที่แล้วมณฑลยูนนานเผชิญปัญหาภัยแล้งรุนแรง และระดับน้ำที่กักไว้ในเขื่อนของจีนก็ลดระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์
นอกจากเขื่อนจีนแล้ว เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในลาว ที่มีนักลงทุนจากชาติอื่นที่ไม่ใช่จีน ก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อแม่น้ำเช่นเดียวกัน เช่น เขื่อนไซยะบุรี ที่มีบริษัทซีเค พาวเวอร์ จำกัด เครือ ช.การช่าง เป็นผู้ก่อสร้าง เริ่มเดินเครื่องผลิตและขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อปลายปีที่แล้ว
“ระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขง” เพื่อล่องเรือ 500 ตัน ผ่านไทยไปหลวงพระบาง
โครงการนี้มีร่องรอยริเริ่มครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2543-2548 จีนเริ่มระเบิดเกาะแห่งในแม่น้ำโขงบริเวณชายแดนจีน-เมียนมา และเมียนมา-ลาว
ทว่าโครงการนี้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้งในช่วงรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือน ธ.ค. 2559
คลิป : RevX
ติดตาม : https://www.youtube.com/watch?v=FqS9pAo35YA