Site icon วีดีโอ เกษตร VDO Kaset

ป้องกันหนอนเจาะผลไม้ งบ 0 บาท

ป้องกันหนอนเจาะผลไม้ งบ 0 บาท

แมลงวันทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bactrocera dorsalis Hendel, ชื่อสามัญ Oriental fruit fly, Family : Tephritidae, Order : Diptera

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
เป็นแมลงขนาดเล็ก ส่วนหัว อก และท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ที่ด้านหลังตรงส่วนอกมีแถบสีเหลืองทองใกล้ๆ กับ โคนปีกทั้งสองข้าง ส่วนอกกว้าง 2 มม. ส่วนท้องกว้าง 3 มม. ปีกใส จากปลายปีกข้างหนึ่งไปยังปลายปีกอีกข้างหนึ่งกว้าง 15 มม. หลังการผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่โดยใช้อวัยวะวางไข่แทงลงใต้ผิวผลไม้ ไข่มีลักษณะยาวรี ระยะไข่ 2 – 4 วัน เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวหนอนมีสีขาวใส เมื่อโตเต็มที่มีขนาด 8 – 10 มม. ระยะหนอน 7 – 8 วัน เมื่อเข้าดักแด้เริ่มแรกมีสีนวลหรือเหลืองอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ระยะดักแด้ 7 – 9 วัน แล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย เมื่อตัวเต็มวัยอายุประมาณ 12 – 14 วัน จะเริ่มผสมพันธ์และวางไข่ (รุจินี 2523) ตัวเมียมีการผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายครั้ง ตัวเมียตัวหนึ่ง ๆ สามารถวางไข่ได้ประมาณ 1,300 ฟอง วงจรชีวิตใช้เวลา ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์

วงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยตัวเมียจะกินอาหารที่เป็นโปรตีน 1 สัปดาห์ เช่น แบคทีเรียที่กำลังเจริญเติบโตในผลไม้และผิวหน้าส่วนต่าง ๆ พืช และน้ำตาล เช่น ใน honeydew และน้ำหวานดอกไม้ ก่อนที่จะวางไข่ ไข่มีสีขาว รูปร่างเหมือนกล้วย และยาว 1 ม.ม. มันจะวางไข่เป็นกลุ่มในเนื้อของผลไม้ เมื่อเจาะเปลือกผลไม้จะไม่เห็นระยะแรก แต่บริเวณรอบ ๆ นั้นจะเป็นสีเหลือง ใช้เวลาฟักไข่ 2-3 วันและตัวหนอนจะเจาะรูเข้าไปในเนื้อผลไม้ จำนวนตัวหนอนต่อผลไม้ 1 ผลมีตั้งแต่ 1-12 ตัวหรือบางครั้งก็มากกว่านี้ ตัวหนอนจะพัฒนาตัวจนสมบูรณ์ใช้เวลาประมาณ 10 วัน แล้วมันก็จะหยุดที่พื้นดินหาที่เหมาะสมสำหรับเข้าดักแด้ บนพื้นดินมันสามารถเคลื่อนที่ได้ถึง 150 ม.ม. ต่อครั้ง โดยการดีดตัวเองในอากาศ ระยะดักแด้เกิดในดิน ใช้เวลาเพียงแค่ 9 วัน ดักแด้สีน้ำตาล รูปทรงกระบอก และยาวประมาณ 4-5 ม.ม.

ลักษณะการทำลาย
ความเสียหายของแมลงวันผลไม้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ (ovipositor) แทงเข้าไปในผลไม้ ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะอาศัยและชอนไชอยู่ภายใน ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ในผลไม้ที่ใกล้สุกและมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ ผลไม้ที่ถูกทำลายนี้มักจะมีโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายซ้ำ ดังนั้นความเสียหายที่เกิดกับผลผลิตโดยตรงนี้จึงมีมูลค่ามหาศาล ก่อให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจในระดับชาติเป็นอันมาก

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
แมลงวันผลไม้ระบาดในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก ไต้หวัน ญี่ปุ่น ปาปัวนิวกินี ฮาวาย ฯลฯ ในประเทศไทยพบการระบาดทั่วทุกภาค ทั้งในเขตป่าและในบ้าน และสามารถอยู่ได้แม้มีระดับความสูงถึง 2,760 เมตร จากระดับน้ำทะเล และยังพบตลอดทั้งปี เนื่องจากมีพืชอาหารมากมาย แต่จะมีปริมาณแมลงวันผลไม้สูงสุดในช่วงเดือนที่มีผลไม้สุกคือ ในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25 – 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์

คลิปโดย : Nature’s Way Organic สวนผักนางพยาบาล

Exit mobile version