(คลิป) กล้วยหอม 1-15 วัน ควรดูแลอย่างไร ใส่ปุ๋ยได้ไหมต้องรู้เพราะสำคัญมาก : วีดีโอ เกษตร
กล้วยหอม 1-15 วัน ควรดูแลอย่างไร ใส่ปุ๋ยได้ไหมต้องรู้เพราะสำคัญมาก…
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปกันได้เลย…
ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇
+++ ความรู้เพิ่มเติม +++
กล้วยหอม
กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป[1] จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค
ลักษณะทั่วไป
ราก รากกล้วยหอมเป็นแบบ adventitious root ที่แตกออกจากหน่อ ซึ่งหน่อจะแตกออกจากเหง้า รากมีความยาวได้มากกว่า 5 เมตร ลึกลงดินได้ถึง 5 – 7.5 เมตร
ลำต้น มีลำต้นจริงเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นที่อยู่เหนือดินสูง 2.5 – 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู
ใบ เป็นใบเดี่ยว เป็นแบบขนาน ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว ใบอาจยาวได้มากถึง 3 เมตร
ดอก/ปลี ดอกหรือปลีจะแทงออกจากหยวกตรงกลางปลายยอด เมื่อแทงออกช่วงแรกจะตั้งตรง และค่อยๆโค้งงอลงด้านล่าง ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข่ ด้านในสีแดงซีด บรรจุน้ำข้างใน
ผล กล้วยหอมติดผลเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4 – 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 – 16 ผล กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 21 – 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุกเห็นชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีขาวขุ่น กลิ่นคาว รสหวานอุ่นฉ่ำ
การปลูก
ตามคำแนะนำของกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นดังนี้
การเตรียมดิน
ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุยจนหมดวัชพืช ถ้ามียังวัชพืชอยู่มากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่
การเตรียมหลุมปลูก
ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2×2 เมตร ขนาดหลุมปลูก ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
การเตรียมพันธุ์และการปลูก
ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม
การปลูก
จำแนกการปลูกออกเป็น 4 แบบคือ 1) การปลูกโดยการไถยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มลักษณะเป็นที่นามาก่อน โดยจะปลูกกล้วยบนร่องดังกล่าว 2) การปลูกโดยการไถยกร่องแต่ปลูกกล้วยในร่อง และให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไหลไปตามร่องที่ปลูกกล้วยเหมาสำหรับพื้นที่ราบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย 3) การปลูกโดยไม่ยกร่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ไร่ที่ไม่มีน้ำขังในฤดูฝน เช่นที่ราบ ที่เชิงเขา 4) การปลูกโดยการขุดร่องน้ำ เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำมีน้ำขังตลอดปี มีระบบชลประทานเพียงพอ และลักษณะดินเป็นดินเหนียว เพราะดินทรายอาจทำให้เกิดการพังทลายของร่องน้ำได้ง่าย
การรดน้ำ
กล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ และขาดน้ำไม่ได้ การให้น้ำควรสังเกตหน้าดิน เมื่อดินแห้งก็ควรรดน้ำ หากให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ หักล้มง่าย ซึ่งระบบการให้น้ำพืช แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้ 1) ระบบสปริงเกอร์….ดีที่สุด 2) ระบบน้ำท่วมร่อง(น้ำไหลไปตามร่อง) 3) ระบบน้ำหยด 4) ใช้เรือรดน้ำ
การดูแล
การให้น้ำ
ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำหากฝนตกสม่ำเสมอ แต่หากฝนทิ้งช่วงจนหน้าดินแห้ง ควรสูบน้ำเข้าแปลงเป็นระยะๆ ในหน้าแล้ง ต้องสูบน้ำเข้าแปลงอย่างสม่ำเสมอ
การให้ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
การแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์
การค้ำยันต้น
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
การหุ้มเครือ และตัดใบธง
การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย
การขยายพันธุ์
เนื่องจากกล้วยหอมเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เหมาะกับดินที่ร่วนซุย และดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี สามารถขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า แต่มีข้อจำกัดว่ากล้วยหอมไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง
ประโยชน์
กล้วยหอมสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล ราก ยางกล้วยจากใบ เปลือกกล้วยหอม
1. ผล ขับปัสสาวะ
2. ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
3. ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย สมานแผลในกระเพาะอาหาร
4. ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุรา ของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม 1-2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้
5. ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กินแล้วทำให้อิ่มอร่อยได้
6. ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
7. เปลือกกล้วยหอม สามารถลดอาการคันหรือบวม จากบริเวณที่ถูกยุงกัดได้ โดยใช้เปลือกด้านใน หรือการนำเปลือกกล้วยหอมมาด้มน้ำดื่ม พบว่าสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ พบว่า หากเราใช้ด้านในของเปลือกกล้วยหอมสุก ถูเบาๆ บริเวณที่มีรอยหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จะทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้น รอยหยาบกร้านจางหายไป
ส่วนที่ใช้ในงานฝีมือ ห่ออาหาร เลี้ยงสัตว์ : ลำต้น ใบ
1. ลำต้น ใช้เป็นฐานกระทง หรือใช้หั่นเลี้ยงสัตว์
2. ใบ ใช้ห่ออาหารจะทำให้อาหารคล้ำดำ ไม่น่ารับประทาน
ส่วนที่ใช้ด้านการเกษตร : เปลือกกล้วยหอม
1. นำเปลือกกล้วยหอมวางไว้รอบๆ โคนต้นกุหลาบ แล้วโกยดินทับประมาณ 1 นิ้ว จะช่วยให้กุหลาบแตกกิ่งเร็วขึ้น
การส่งออกกล้วยหอม
ประเทศไทยมีการส่งออกกล้วยหอมไปยังประเทศต่าง ๆ มากมาย เช่น
1. ฮ่องกง
2. สิงคโปร์
3. ญี่ปุ่น
4. เนเธอร์แลนด์
5. สวิตเซอร์แลนด์
ที่มา Youtube Channel : Jack channel
ดูคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=DC1ZFbUq1lE