(คลิป) จุลินทรีย์เปลือกไข่ กระตุ้นพืชโตเร็ว ช่วยการติดดอกติดผล : วีดีโอ เกษตร
- Genres:กสิกรรม(พืช), วีดีโอทั้งหมด
(คลิป) จุลินทรีย์เปลือกไข่ กระตุ้นพืชโตเร็ว ช่วยการติดดอกติดผล : วีดีโอ เกษตร
จุลินทรีย์เปลือกไข่ กระตุ้นพืชโตเร็ว ช่วยการติดดอกติดผล
วิธีการทำอย่างละเอียด จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปดูคลิปด้านบนได้เลยครับ
แคลเซียม
คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของแคลเซียมต่อพืช สำหรับการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดีของพืช การได้รับสารอาหารที่เพียงพอและได้รับธาตุอาหารที่เฉพาะเจาะจงตามความต้องการของพืชเป็นสิ่งสำคัญ แคลเซียมเป็นหนึ่งในธาตุอาหารพืชที่สำคัญมาก พืชต้องการแคลเซียมในการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ถึงแม้ว่าแคลเซียมจะเป็นแร่ที่อุดมสมบูรณ์พบได้ในดิน แต่ก็มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดซึมได้ง่าย ดังนั้นการใส่ปุ๋ยแคลเซียมและรักษาระดับแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการปลูกพืช
ความสำคัญและประโยชน์ของแคลเซียม
1. พืชใช้แคลเซียมในการแบ่งเซลล์ที่ส่วนของยอดและปลายรากทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี เมื่อส่วนปลายรากแข็งแรงสามารถดูดน้ำและอาหารได้เต็มที่
2. แคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ และทำหน้าที่เชื่อมให้ผนังเซลล์ข้างเคียงประสานกัน ผนังเซลล์จึงมีความแข็งแรง เซลล์จำนวนมากเชื่อมติดกันกลายเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะของพืช ทำให้ลำต้นพืชแข็งแรงและช่วยรักษาโครงสร้างของผนังเซลล์
3. แคลเซียมมีบทบาทควบคุมให้รากพืชเจริญเติบโตมีทิศทางลงสู่ดินตอบสนองต่อความถ่วง (gravity) ของโลก และส่งเสริมการทำหน้าที่ของออกซินด้านการเจริญเติบโตของเซลล์
4. แคลเซียมควบคุมการดูดน้ำของเซลล์พืช โดยปรับความเข้มข้นขององค์ประกอบในแวคิวโอลของเซลล์ให้พอเหมาะ เอื้อต่อการดูดน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้แคลเซียมยังมีบทบาททางอ้อมในการควบคุมการเปิดและปิดปากใบ
5. แคลเซียมไอออนเป็นตัวนำรหัสที่สองในการส่งข่าวสารให้ระบบส่วนกลางทราบภาวะของสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น อุณหภูมิ แสง ความแห้งแล้ง ความเค็มและการเข้าทำลายของเชื้อโรค รวมทั้งกระตุ้นให้พืชป้องกันอันตรายจากสิ่งเหล่านั้นอย่างเหมาะสม นอกจากนั้นแคลเซียมยังช่วยเพิ่มความต้านโรคพืชและซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้น
6. แคลเซียมมีบทบาทต่อการเกิดดอกและผล แคลเซียมส่งเสริมให้มีการปฏิสนธิในดอกหลังจากการถ่ายเรณูโดยเหนี่ยวนำให้หลอดเรณูยืดตัว เพื่อส่งเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ไปจนถึงรังไข่ ทำให้เกิดการปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ในออวุล จึงมีการพัฒนาผลและเมล็ด
7. แคลเซียมช่วยเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และน้ำตาล มาสะสมที่ผล ระหว่างการเจริญเติบโตของผล ทำให้ผลเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และลดปัญหาการหลุดร่วงของผลได้
8. แคลเซียมกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสในเมล็ดซึ่งทำหน้าที่ย่อยแป้งอันเป็นอาหารสะสมในเอนโดสเปิร์มให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก เพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานในการงอกของเมล็ดและเป็นโครงคาร์บอนสำหรับสังเคราะห์สารอินทรีย์ต่างๆ
อาการและผลกระทบของพืชขาดแคลเซียม
1. อาการขาดธาตุแคลเซียมของพืชจะแสดงอาการที่ใบอ่อนจะเหลืองซีดและใบเล็ก
2. อาการขาดแคลเซียมสามารถเห็นได้ชัดในเนื้อเยื่อส่วนปลาย ซึ่งจะทำให้ส่วนเหล่านี้แห้งตาย หยุดการเจริญเติบโต ไม่ออกดอก และผล
3. การเจริญเติบโตของรากพืชลดลงทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุอาหารต่างๆในดินลดลง โครงสร้างของลําต้นอ่อนแอลง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตช้า แคระแกร็น
4. ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับผล เช่น การเกิดอาการก้นผลเน่า (blossom-end rot) ในมะเขือเทศและอาการจมูกนิ่ม (soft nose) ในมะม่วง
5. บางกรณีการขาดแคลเซียมอาจส่งผลให้พืชออกดอกเร็วเกินไป ใบที่อยู่ชั้นในสุดจะรวมตัวติดกันแน่นเป็นกระจุก โรคและแมลงเข้าอาศัยและทำลายพืชได้ง่าย เกิดความเสียหายต่อคุณภาพของผลผลิตของพืชปลูก
6. การเจริญเติบโตและผลผลิตรวมถึงคุณภาพของผลผลิตพืชลดลง
ที่มา Youtube Channel : เกษตรพึ่งพาตนเอง เพื่อความยั่งยืน
ดูคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=x9yZtXTglHc