(คลิป) ‘ติ่งเนื้อ’ ‘ไฝ่’ วิธีเอาออก ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน : วีดีโอ เกษตร
- Genres:วีดีโอทั้งหมด, สาระน่ารู้, สุขภาพ, อื่นๆ
(คลิป) ‘ติ่งเนื้อ’ ‘ไฝ่’ วิธีเอาออก ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน : วีดีโอ เกษตร
‘ติ่งเนื้อ’ ‘ไฝ่’ วิธีเอาออก ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
สิ่งที่ใช้
– กระเทียม 5-8 กีบ
– มะนาว 1 ช้อนชา
– เบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา
– พลาสเตอร์ยา
– ไม้ปั่นหู
วิธีทำ
– นำกระเทียมปลอกเปลือกออก แล้วนำมาขูดหรือปั่นให้ละเอียด นำมากรองเอาแต่น้ำของกระเทียม บีบมะนาวใส่ 1 ช้อนชา ใส่เบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา แล้วผสมให้เข้ากัน
– นำไม้ปั่นหูจุ่มน้ำกระเทียมที่ผสม แล้วนำไปป้ายติ่งเนื้อ หรือไฝ ที่เป็น แล้วปิดทัดด้วยพลาสเตอร์ยา ทำทุกวันจนกว่าติ่งเนื้อ หรือไฝ หลุดออก
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปกันได้เลย…
+++ ความรู้เพิ่มเติม +++
ติ่งเนื้อ คืออะไร
ติ่งเนื้อ (Skin Tags/Acrochordon) คือ ก้อนเนื้อเล็กมีลักษณะนุ่ม ซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง มีสีและขนาดแตกต่างกันไป โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 2 นิ้ว ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้าย และไม่กลายเป็นมะเร็งผิวหนัง โดยทั่วไปแล้ว บริเวณผิวหนังที่เป็นข้อพับมักเกิดติ่งเนื้อ เช่น คอ รักแร้ ลำตัว ใต้ราวนม หรือบริเวณหัวหน่าว ผู้ที่มีติ่งเนื้ออาจรู้สึกระคายเคืองในกรณีที่ติ่งเนื้อเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุมากขึ้นอาจเกิดติ่งเนื้อได้ พบได้ทั่วไปสำหรับผู้ที่มีอายุ 50-60 ปี ขึ้นไป และมีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ตั้งครรภ์ หรือมีบุคคลในครอบครัวเคยเกิดติ่งเนื้อ
อาการของติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อที่เพิ่งขึ้นบนผิวหนัง จะเป็นก้อนเนื้อนุ่มมีขนาดเล็กนูนขึ้น และยื่นออกมาเป็นติ่ง และจะค่อย ๆ กลายเป็นสีเดียวกับผิวหนัง โดยไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่อาจรู้สึกระคายเคืองบ้างหากเสียดสีกับเสื้อผ้า หรือถ้าก้านที่ยึดติ่งเนื้อถูกบิด อาจเกิดลิ่มเลือดภายในติ่งเนื้อและรู้สึกเจ็บได้ ติ่งเนื้อมักขึ้นที่คอ รักแร้ กลางลำตัว บริเวณผิวหนังที่ย่นทับกัน เปลือกตา หรือต้นขาด้านใน ผู้ที่เกิดติ่งเนื้อควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เนื่องจากติ่งเนื้อมีลักษณะคล้ายหูดหรือไฝ ซึ่งกลายเป็นเนื้อร้ายได้
สาเหตุของติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อเกิดจากผิวหนังล้อมรอบเส้นใยคอลลาเจนและเส้นเลือด คอลลาเจนดังกล่าวเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ตามร่างกายโดยเฉพาะที่ผิวหนัง ผู้ที่อายุมากมักมีติ่งเนื้อขึ้นมา ส่วนเด็กเล็กหรือทารกอาจมีติ่งเนื้อขึ้นมาบ้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อยังไม่ปรากฏแน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อได้ ดังนี้
– ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะนี้คือภาวะที่นำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะน้ำตาลผิดปกติ (Prediabetes) โดยภาวะดื้ออินซูลินอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ เนื่องจากร่างกายดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดได้ไม่ดี ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าติ่งเนื้อเกี่ยวเนื่องกับดัชนีมวลกายที่มาก ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และภาวะดื้ออินซูลิน
– ภาวะอ้วน ผู้ที่ประสบภาวะอ้วน จะป่วยเป็นโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) โดยโรคนี้จะเกิดติ่งเนื้อจำนวนมากตามผิวหนังบริเวณคอและรักแร้
– การตั้งครรภ์ ติ่งเนื้ออาจเป็นผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีระดับฮอร์โมนและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ติ่งเนื้ออาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
– เชื้อเอชพีวี งานวิจัยบางชิ้นได้ศึกษาติ่งเนื้อจำนวน 37 ชิ้น ที่ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย พบว่าติ่งเนื้อจำนวนร้อยละ 50 ปรากฏดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) จึงกล่าวได้ว่าเชื้อเอชพีวีอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ
– พันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้อขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจเสี่ยงเกิดติ่งเนื้อได้
การวินิจฉัยติ่งเนื้อ
ผู้ที่เกิดติ่งเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัย โดยแพทย์จะตรวจดูติ่งเนื้อที่เกิดขึ้น ผู้ที่เกิดติ่งเนื้อลักษณะนุ่ม กดหรือขยับติ่งเนื้อไปมาได้ ติ่งเนื้อมีสีเดียวกับผิวหนังหรือเข้มเล็กน้อย รวมทั้งมีก้านของติ่งเนื้อยึดติ่งเนื้อไว้กับผิวหนัง ไม่จำเป็นต้องรับการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม ส่วนผู้ที่ติ่งเนื้อมีสีแตกต่างจากผิวหนัง มีหลายสี ติ่งเนื้อแกว่งไปมา รวมทั้งมีลักษณะเป็นเนื้อสดและมีเลือดออก ควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ ทั้งนี้ แพทย์จะนำชิ้นติ่งเนื้อไปตรวจในกรณีที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าก้อนนูนที่ขึ้นมาบนผิวหนังเป็นติ่งเนื้อหรือไม่
การรักษาติ่งเนื้อ
ติ่งเนื้อคือก้อนเนื้อชนิดหนึ่งที่ขึ้นตามผิวหนังของร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้ายหรือกลายเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ติ่งเนื้ออาจกลายเป็นภาวะก่อนเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็ง ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก ผู้ที่ต้องการกำจัดติ่งเนื้อควรปรึกษาแพทย์ให้รอบคอบ ส่วนใหญ่แล้ว มักกำจัดติ่งเนื้อออกเพื่อความสวยงาม โดยมีวิธีรักษาหลายวิธี ดังนี้
วิธีกำจัดติ่งเนื้อด้วยวิธีทางการแพทย์
การกำจัดติ่งเนื้อด้วยวิธีทางการแพทย์มีหลายลักษณะ ได้แก่ ผ่าตัดติ่งเนื้อ บำบัดด้วยความเย็นจัด และจี้ติ่งเนื้อ ดังนี้
– ผ่าตัดติ่งเนื้อ วิธีนี้จะช่วยกำจัดติ่งเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็เสี่ยงเกิดเลือดออกได้มาก
– บำบัดด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) วิธีนี้จะรักษาติ่งเนื้อด้วยอุณหภูมิเย็นจัด อีกทั้งยังใช้รักษาผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดจากเส้นประสาท มะเร็งบางชนิด หรือเซลล์ผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์สำหรับรักษาเข้าไปข้างในเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่เส้นประสาทถูกทำลาย และลดอุณหภูมิของเครื่องมือจนเย็นจัด เพื่อแช่แข็งเส้นประสาท ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือระคายเคือง
– จี้ติ่งเนื้อ (Cauterization) วิธีนี้จะใช้ไฟจี้ติ่งเนื้อที่มีสีผิดปกติหรือทำให้เกิดการระคายเคือง ให้หลุดออกไป
วิธีกำจัดติ่งเนื้อด้วยตนเอง
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีติ่งเนื้อไม่ควรเอาติ่งเนื้อออกเอง เนื่องจากอาจทำให้เลือดออกมาก
การป้องกันติ่งเนื้อ
ส่วนใหญ่แล้ว ติ่งเนื้อไม่ได้เป็นเนื้อร้าย ผู้ที่มีติ่งเนื้ออาจรู้สึกระคายเคืองผิวหนังเมื่อติ่งเนื้อเสียดสีกับเสื้อผ้า ทั้งนี้ ติ่งเนื้อจะไม่เกิดขึ้นซ้ำเมื่อนำออกไป แต่อาจเกิดติ่งเนื้อขึ้นส่วนอื่นของร่างกายแทน วิธีป้องกันติ่งเนื้อยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ติ่งเนื้อเป็นภาวะที่เลี่ยงได้ โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปจนประสบภาวะอ้วนอันเป็นปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อ รวมทั้งสังเกตดูว่าก้อนนูนที่ขึ้นตามผิวหนังนั้นเป็นติ่งเนื้อ หูด หรือเนื้อร้ายอื่น ๆ ที่ต้องเข้ารับการรักษา หากพบลักษณะก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมามีลักษณะต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที
– ก้อนเนื้อมีลักษณะแข็งและพื้นผิวมีลักษณะผิดปกติ
– ก้อนเนื้อนูนขึ้นมา ไม่ได้โผล่ออกมาเป็นติ่ง
– แพร่เชื้อหรือเกิดการติดต่อได้ง่าย
– ก้อนเนื้อมีเลือดออก ทำให้คัน และสีเปลี่ยน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร้ายแรง
ข้อมูลอ้างอิง ติ่งเนี้อ จาก : www.pobpad.com
ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇
ที่มา Youtube Channel : مجربة Mojaraba TV
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=n_f80m8ALu0