(คลิป) น้ำหยดแบบเติมน้ำง่ายๆ ไม่อยู่บ้าน 3 วัน ต้นไม้ยังเขียว – น้ำหยดสู้ภัยแล้ง จากขวดพลาสติก : วีดีโอ เกษตร
น้ำหยดแบบเติมน้ำง่ายๆ ไม่อยู่บ้าน 3 วัน ต้นไม้ยังเขียว | น้ำหยดสู้ภัยแล้ง จากขวดพลาสติก EP.2
ดู EP อื่น
น้ำหยดทำง่ายๆ อยู่ได้ 3-4 วัน EP.1
น้ำหยดแบบเติมน้ำง่ายๆ ไม่อยู่บ้าน 3 วัน ต้นไม้ยังเขียว EP.2
ปรับหยดมาก หยดน้อย ได้ตามใจ 1-2 วันน้ำอยู่ได้สบาย EP.3
วิธีทำน้ำหยดแบบง่ายๆ อยู่ได้ 2-3 วัน EP.4
เทคนิคทำน้ำหยดจากบังกลาเทศ EP.5
น้ำขวดเดียว รดต้นไม้กี่ต้นก็ได้ EP.6
ปรับการหยดได้ด้วย น้ำหยดจากของใช้ในบ้าน EP.7
รดน้ำอัตโนมัติ ต้นไม้ชุ่มชื้นทั้งวัน EP.8
ทำน้ำหยดแบบชุ่มชื้นรอบโคนต้น EP.9
ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำสุดๆ EP.10
ระบบน้ำหยดใต้ดิน แก้มลิงใต้ดิน EP.11
น้ำหยดจากของเหลือใช้ ช่วยปรับปริมานการหยดได้ด้วย EP.12
+++ ความรู้เพิ่มเติม +++
ระบบน้ำหยด ในการเกษตร
ระบบน้ำหยด เป็นเทคโนโลยีการชลประทานวิธีหนึ่งในหลายวิธี เป็นการให้น้ำแก่พืช โดยการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้าๆ สม่ำเสมอในอัตรา 4-20 ลิตร / ชั่วโมง ที่แรงดัน 0.3-2 บาร์ ขึ้นอยู่กับระบบ ชนิดพืช ขนาดพื้นที่ และชนิดของดิน จุดมุ่งหมายสำคัญของการให้น้ำแบบนี้ก็เพื่อที่จะรักษาระดับความชื้นของดิน บริเวณรากพืชให้อยู่ในระดับที่รากพืชดูดไปใช้ได้อย่างง่าย สร้างความเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ พอเหมาะ และเป็นไปตามความต้องการของพืช ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) เป็นวิธีการให้น้ำด้วยอัตราทีละน้อยๆ (น้อยกว่า 250 ลิตร/ชม.)
2) เป็นวิธีการให้น้ำที่ใช้เวลานาน (นานมากกว่า 30 นาที)
3) เป็นวิธีการให้น้ำช่วงบ่อยครั้ง (ไม่เกิน 3 วันครั้ง) อาจจะทำได้โดยใช้เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ
4) เป็นวิธีการให้น้ำโดยตรงในบริเวณเขตรากพืชหรือเขตพุ่มใบ (เปียกอย่างน้อย 60%)
5) เป็นวิธีการให้น้ำด้วยระบบท่อที่ใช้แรงดันต่ำ ( แรงดันที่หัวจ่ายน้ำประมาณ 2 บาร์ )
องค์ประกอบหลักของระบบให้น้ำแบบหยด
อุปกรณ์ที่สำคัญจะต้องมีในระบบ ได้แก่ หัวจ่ายน้ำ ท่อแขนง ท่อประธานย่อย ท่อประธาน ประตูน้ำ เครื่องกรองน้ำ และปั๊มน้ำ 12V 24V หรือ 220V เป็นต้น นอกจากนี้ บางครั้งก็อาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษเพิ่มขึ้นอีกตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ถือว่าเป็นเครื่องควบคุมการจ่ายน้ำต้นทาง อันได้แก่ เครื่องวัดปริมาณการไหลของน้ำ เครื่องฉีดผสมปุ๋ยหรือสารเคมี เครื่องควบคุมความดัน วาล์วป้องกันน้ำไหลกลับ วาล์วระบายอากาศ เป็นต้น
ข้อดีของน้ำหยดมีหลายประการ
1. ประหยัดน้ำมากกว่าทุกๆ วิธี ไม่ว่ารดด้วยมือหรือใช้สปริงเกอร์ หรือวิธีอื่นใดก็ตามและแก้ปัญหาภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำในบางฤดูซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ กล่าวคือ ลงทุนครั้งเดียวแต่ให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก ติดตั้งครั้งเดียวและใช้งานได้ตลอดอายุ สามารถควบคุมการ เปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ manual และ automatic หรือ micro controler โดยเฉพาะระบบตั้งเวลา ( Timer Digital )และตรวจจับความชื้นทำให้ประหยัดค่าแรง
3. ใช้ได้กับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าดินร่วน ดินทราย หรือดินเหนียว รวมทั้งดินเค็มและดินด่าง น้ำหยดและไม่ละลายเกลือมาตกค้างอยู่ที่ผิวดินบน
4. สามารถใช้กับพืชประเภทต่างๆ ได้เกือบทุกชนิด เช่น มะเขือเทส เมล่อน ยกเว้นพืชที่ต้องการน้ำขัง
5. เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต้องการใช้น้ำอย่างประหยัด เช่น มะเขือเทส เมล่อน
6. ให้ประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงที่สุด 75-95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มีการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด และเมื่อเทียบกับการปล่อยน้ำท่วมขัง มีประสิทธิภาพเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ในระบบสปริงเกลอร์ แบบติดตายตัวมีประสิทธิภาพ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และในระบบสปริงเกลร์แบบเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพ 65-75 เปอร์เซ็นต์
7. ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า ใช้เวลาไปทำงานอย่างอื่นได้เต็มที่ไปพร้อม ๆ กับการให้น้ำ
8. ลดการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช
9. ได้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ระบบชลประทานแบบอื่น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ประหยัดต้นทุนน้ำ ทำให้มีกำไรสูงกว่า
10. ระบบน้ำหยด สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นละลายไปกับน้ำพร้อมๆ กันทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ปุ๋ย พ่นยาอีก ทั้งนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย (injector) เข้ากับระบบ
ข้อจำกัดของระบบน้ำหยด
ระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรไทยจึงมีข้อจำกัดอยู่ ต้องใช้ต้นทุนสูงในระยะแรก การติดตั้งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และเกษตรกรจะต้องมีความรู้ปริมาณการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก เช่น มะเขือเทศ ต้องการปริมาณน้ำประมาณ 40 มิลลิเมตร/ไร่/วัน หรือประมาณ 1.5 ลิตร/ต้น/วัน เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรต้องมีการค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบติดตั้ง และบริหารระบบ จะต้องคำนึงถึงการจัดการระบบ เช่น ระยะเวลาให้น้ำ การใช้ปุ๋ย ชนิดปุ๋ย ตลอดจนต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ พืชจึงจะได้ปุ๋ย หรือสารเคมี ใช้อย่างพอทุกช่วงการเจริญเติบโต
การบริหารระบบน้ำหยดให้ได้ผลสูงสุด มี 3 ประการ คือ
1. การให้น้ำปริมาณที่เหมาะสม กับความต้องการของพืชแต่ละชนิด
2. การให้ปุ๋ยปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะละลายผ่านเข้าสู่ระบบ
3. การวางแผนการบำรุงรักษาระบบ เพื่อให้ได้ประโยชน์ยาวนานที่สุด
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว การจัดการน้ำสำหรับการปลูกพืชก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ที่มา Youtube Chennal : G Enter
ดูคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=2rwvn9DHUPE