(คลิป) สุดยอด!! ปุ๋ยฟอตเฟต (ฟอสฟอรัส) ทำให้พืชงาม ใบเขียวแข็งแรง เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร : วีดีโอ เกษตร
สุดยอด!! ปุ๋ยฟอตเฟต (ฟอสฟอรัส): ทำให้พืชงาม ใบเขียวแข็งแรง เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร
ธาตุ P หรือธาตุฟอสฟอรัส
ธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในพืชในรูปของฟอสเฟตที่ท่อลำเลียงน้ำ เป็นธาตุที่มีปริมาณไม่มากเท่าไรในต้นพืช แต่พื้นดินส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีธาตุนี้อย่างเพียงพอด้วยเหมือนกัน สภาพของฟอสฟอรัสจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นกรด-ด่างของเนื้อดิน และบางครั้งธาตุนี้ก็ถูกยึดด้วยอนุภาคของดินเหนียวจนพืชไม่สามารถดึงขึ้นมาใช้ได้
ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส
– ช่วยเสริมการเจริญเติบโตของพืชในส่วนของรากทุกประเภทในระยะแรกของการงอก
– ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ส่งผลต่อการติดดอกออกผลและคุณภาพของเมล็ดภายในผล
– เป็นตัวช่วยในกระบวนการดูดธาตุโพแทสเซียมของราก
– เสริมให้ลำต้นแข็งแรงไม่โค่นล้มง่าย และทนทานต่อสภาวะแวดล้อม
– ช่วยป้องกันโรคพืชขั้นพื้นฐาน
– ช่วยลดผลกระทบจากการที่ต้นพืชมีการได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น
ฟอสฟอรัสสำคัญอย่างไร??? ต่อพืช
– ฟอสฟอรัสมีหน้าที่สำคัญมากมาย เป็นองค์ประกอบของเซลล์ การแบ่งเซลล์ การสืบพันธุ์ การถ่ายทอดพลังงาน (การหายใจ การสังเคราะห์แสง) การดูดน้ำ ดูดธาตุอาหาร แสดงให้เห็นว่าฟอสฟอรัสมีหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชนั่นเอง หากขาดธาตุฟอสฟอรัสสังเกตุได้จากต้นผอมแกรน ใบล่างเหลือง ใบมีสีม่วงเป็นต้น
แหล่งของฟอสฟอรัส
– ฟอสเฟตอินทรีย์ โดยจะมีมากหรือขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน พบว่าฟอสเฟตอินทรีย์จะมีมากในดินชั้นบน
– ฟอสเฟสอนินทรีย์ คือ 1)พวกแร่ต่างๆที่มีฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ, 2)สารประกอบฟอสเฟตคือปุ๋ยเคมีที่เราใส่ลงในดินนั่นเอง, 3)ฟอสเฟสที่ถูกตรึงกับเหล็ก อะลูมินัม แร่ดินเหนียว
การตรึงฟอสเฟตในดิน
– รู้หรือไม่ปุ๋ยฟอสเฟตที่เราใส่ลงในดินพืชนำไปใช้ได้ส่วนน้อยเท่านั้นคือประมาณ 10-25% เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะถูกตรึงอยู่ในดิน โดยการตรึงมีปัจจัยดังนี้
1) สภาพดิน พบว่าถ้ามีปริมาณอินทรียวัตถุมาก การตรึงจะน้อยลง
2) pH ดิน พบว่า pH ดินที่ 6-7 พืชสามารถใช้ประโยชน์ฟอสฟอรัสได้ดีที่สุด
3) ปริมาณ เหล็ก อะลูมินัม แมงกานีส แคลเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล่านี้จะจับกับฟอสเฟสได้ดีในช่วง pH เป็นกรดหรือด่างทำให้ไม่สามารถนำฟอสเฟตมาใช้ได้
วิธีการจัดการฟอสเฟตในดิน เนื่องจากมีโกาสที่จะถูกตรึงในดินสูง
1) ปรับ pH ดินให้อยู่ระหว่าง 6-7
2) ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้ใกล้รากพืช
3) ใช้ปุ๋ยชนิดเม็ดเพื่อลดพื้นที่สัมผัสกับดิน
4) เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุโดยใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด
ทั้งนี้เราควรส่งดินวิเคราะห์คุณภาพเบื้องต้นเพื่อให้ทราบ pH ของดินโดยทางกรมพัฒนาที่ดินจะแนะนำให้ใส่ปูนในกรณีที่ดินเป็นกรด เพื่อลดการตรึงฟอสฟอสฟอรัสในดิน
ที่มา Youtube Channel : wealthy rich channel
ดูคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=ADl8wjNfhYU