(คลิป) เกษตรแบบอิสราเอล ทำไมที่อิสราเอลถึงตัดปลีกล้วยครึ่งปลี กล้วยหอมคาเวนดิช : วีดีโอ เกษตร

5.20K Views


(คลิป) เกษตรแบบอิสราเอล ทำไมที่อิสราเอลถึงตัดปลีกล้วยครึ่งปลี กล้วยหอมคาเวนดิช : วีดีโอ เกษตร

***** ความรู้เพิ่มเติม *****

กล้วยหอมคาเวนดิช

กล้วยหอมคาเวนดิช หรือ กล้วยหอมเขียวคาเวนดิช นับเป็นพืชเศรษฐกิจมีการส่งออกมากที่สุดถึง 95 เปอร์เซ็นต์ในตลาดโลก

ในการประชุมกล้วยนานาชาติ ของสมาคมวิทยาศาสตร์พืชสวนนานาชาติ (ISHS) พบว่า ประเทศที่ส่งออกกล้วยหอมคาเวนดิชมากที่สุดคือ เอกวาดอร์ รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ และส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในอเมริกาใต้ เช่น คอสตาริก้า กัวเตมาลา โคลัมเบีย โดยบริษัทที่มีบทบาทในการพัฒนาเทคนิคการผลิตและพัฒนาพันธุ์มายาวนานนับร้อยปีคือ บริษัทโดล (Dole) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ตีคู่กันมากับเดมอนเต้แห่งประเทศฝรั่งเศส

สำหรับประเทศไทยมีการปลูกและส่งออกน้อยกว่ากล้วยหอมทอง เนื่องจากคนไทยไม่นิยมบริโภคจึงส่งผลให้มีการปลูกน้อยตามไปด้วย แต่ทว่าในตลาดโลกมีการส่งออกมากจึงถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะกล้วยหอมเขียวคาเวนดิชมีลักษณะเด่นที่ เปลือกหนา การขนส่งทำได้ง่ายไม่บอบช้ำ อีกทั้งรสชาติยังหวานน้อยถูกปากผู้บริโภคทั่วโลกโดยเฉพาะคนที่รักสุขภาพ

ปัจจุบันมีการผลักดันของกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมเขียวคาเวนดิชหลากหลายพื้นที่ โดยมีหน่วยงานราชการและเอกชน ส่งเสริมให้ปลูกอย่างจริงจัง

ต้นทุนการผลิต อยู่ราว 3-3.5 หมื่นบาท โดย 1 ปลูกได้ 320 ต้น ใช้ระยะปลูก 2×2.5 เมตร ต้นทุนค่าต้นกล้า 35 บาทเท่ากับว่า 1 ไร่ ลงทุนค่าต้นพันธุ์ 11,200 บาท ค่าปุ๋ยประมาณ 5,000-6,000 บาท ค่าระบบน้ำหยด 2,000-3,000 บาท ค่าแรง (10 เดือน) 10,000 บาท ซึ่งในส่วนของผลตอบแทนดุจากผลผลิตที่ได้ 7 ตัน/ไร่ (กล้วย 1 เครือมีน้ำหนัก 25-50 กิโลกรัม) ราคารับซื้อขั้นต่ำประกันราคา 6 บาท จะมีรายได้ 42,000 บาท/ไร่

แต่หากมองถึงความเติบโตในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศฟิลิปปินส์นับเป็นประเทศที่มีการผลิตกล้วยชนิดนี้เพื่อการส่งออกเป็นเบอร์ 1 โดยเฉพาะในแถบหมู่เกาะ Davao ที่มีสวนกล้วยขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง คือ Saci Haribulan และ โดล

Mr.Tony Amores (Entonio senvador romen chavac amore) Production manager ของ Saci Haribulan ผู้จัดการสวน เล่าให้ฟังว่า สวนแห่งนี้ปลูกกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช สายพันธุ์ไต้หวัน 218 มานานกว่า 29 ปี บนเนื้อที่ 4,000 เฮกตาร์ หรือ 25,000 ไร่ จัดได้ว่าเป็นสวนเก่าแก่ที่สุดแห่ง Davao มีการผลิตกล้วยส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และแถบตะวันออกกลาง โดยในแต่ละวันจะผลิตกล้วยได้ราว 1,800 เครือ/วัน และมีเป้าหมายการผลิต 2 สัปดาห์ 10,000 กล่อง (น้ำหนักเฉลี่ย 13.5/กล่อง) /เฮกตาร์ (ซึ่งในช่วงที่เราไปเป็นการเก็บเกี่ยวในช่วงสัปดาห์แรกได้ผลผลิต 4,280 กล่อง/เฮกตาร์/สัปดาห์)

การปลูกและการดูแลกล้วยหอมคาเวนดิช
การเพาะต้นกล้าเนื้อเยื้อจะมีการเพาะในถุงชำ 8 เดือนเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงรากเดินดี หลังจากนั้นจึงนำลงแปลงปลูกอีกราว 5 เดือน กล้วยจะเริ่มออกผลผลิต และสามารถการเก็บเกี่ยวต่อไปอีกราว 3-4 เดือน (รวมระยะเวลา 9 เดือนหลังปลูก) ซึ่งกว่า 29 ปี มาแล้วสวนแห่งนี้ยังไม่มีการรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ การเพาะต้นกล้าเตรียมไว้ก็เพื่อการนำมาปลูกเสริมต้นเก่าที่ล้มตายเท่านั้น

ระบบน้ำ
ที่สวน Saci Haribulan จะมีการควบคุมการให้น้ำอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ ซึ่งพื้นที่สวนบริเวณเป็นที่สูงลักษณะดิน เป็นดินทรายคล้ายดินภูเขาอีกทั้งความชื้นในอากาศน้อยทำให้ดินค่อนข้างแห้ง การวางระบบน้ำจึงเลือกใช้การวางระบบหัวมินิสปริงเกลอร์ เพราะสามารถช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นแผ่เป็นวงกว้าง ทำให้ระบบรากพืชสามารถรับน้ำได้ดี

วิธีการให้น้ำ
สูบน้ำจากบ่อเก็บน้ำในพื้นที่ส่งผ่านหัวมินิสปริงเกลอร์ (300-500 ซีซี./1 นาที) ระยะเวลาเปิดให้น้ำนาน 3 ชั่วโมง/ครั้ง/ชุดปั้มน้ำ 1 ชุด โดยในพื้นที่มีปั้มน้ำรวม 6 ชุด รวมระยะเวลาให้น้ำ ในแต่ละวันจะใช้เวลานานถึง 18 ชั่วโมง/วัน

การให้ปุ๋ย
ยังคงใช้แรงงานคน แต่จะเปลี่ยนเป็นการให้ผ่านทางระบบน้ำในปีหน้า หรือการใช้โดรนสเปรย์ยา เช่น ท็อปซิน ป้องกันโรคร่วมด้วย

สำหรับสวนนี้สภาพดินด้านบนเป็นดินทรายแต่ด้านล่างลึกลงไป 40 เซนติเมตร เป็นดินเหนียวทำให้ดินอุ้มน้ำไว้ทำให้ดีต่อระบบราก โดยจุดเด่นของแปลงนี้จะมีการให้ปุ๋ย N P K ผ่านทางระบบน้ำให้เหมาะสม ผ่านสายระบบน้ำหยดพิเศษที่มีการปรับแรงดันเท่ากันตลอดสาย มีระยะห่างรูน้ำหยด 60 เซนติเมตร ทำให้กล้วยทุกต้นได้ปริมาณน้ำเพียงพอเท่ากัน พร้อมดูแลการให้ธาตุอาหารเสริม อย่าง แคลเซียมโบรอน และสังกะสีร่วมด้วย

อีกทั้งทุกๆ 3 เดือนจะมีการนำใบกล้วย และดินไปตรวจวัดค่า เพื่อจะคำนวณหาสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้ในแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชอยู่เสมอ และมีการป้องกันโรคพืชทางดิน เช่น การควบคุมผู้เข้าชมแปลงต้องมีการเดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือมีการเผาทำลายต้นกล้วยที่ติดโรคร่วมกับการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อ

โดย : บ่าวหนองบัวฯ ลูกอิสานพลัดถิ่น
คลิป ติดตาม : https://www.youtube.com/watch?v=WzlcvEeqKC0
บทความ Sentangsedtee

Show More
Top