(คลิป) เพลี้ยไก่แจ้ มฤตยูร้ายของทุเรียน : วีดีโอ เกษตร

1.30K Views

(คลิป) เพลี้ยไก่แจ้ มฤตยูร้ายของทุเรียน : วีดีโอ เกษตร

เพลี้ยไก่แจ้ มฤตยูร้ายของทุเรียน

ในช่วงต้นฤดูฝนคือช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ในสวนทุเรียน โดยเฉพาะในทุเรียนที่แตกใบอ่อน เพราะใบอ่อนทุเรียนถือว่าเป็นอาหารอันโอชะของเพลี้ยไก่แจ้เลยทีเดียว

มาให้ความสำคัญกับเจ้าเพลี้ยไก่แจ้กันซักหน่อยนะครับ…เพราะว่ามันสามารถทำความเสียหายให้กับทุเรียนเป็นอย่างมาก…ทำให้ไปเป็นจุดสีเหลือง…ใบไม่มีการเจริญเติบโต เมื่อระบาดมากๆก็จะทำให้ทุเรียนของเราใบหงิกใบงอ แล้วถ้ามันเข้าโจมตีในช่วงใบอ่อน…ในช่วงที่ใบที่ยังไม่มีการคลี่หรือกางใบออกเต็มที่นะครับ…จะทำให้ใบแห้งแล้วก็ร่วงใบในที่สุด…ใบ…ผมก็บอกแล้วมันสำคัญต่อพืช…เพราะใบคือครัวของพืชหรือทุเรียน…ถ้าใบไม่เจริญเติบโต ใบร่วง…ทุเรียนก็ไม่มีอาหาร..ทุเรียนก้ไม่เจริญเติบโต…ทุเรียนก็ไม่สามารถสร้างดอกสร้างผลผลิตได้…


ซึ่งเจ้าเพลี้ยไก่แจ้เนี่ยตัวเต็มวัยมันจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบทุเรียน….ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือสีน้ำตาลตามใบเป็นกลุ่มๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8 – 14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ 3 ม.ม. และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลำตัวจะมีปุยสีขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ เราเลยตั้งชื่อให้มันว่าเป็นพี่เลี้ยงไก่แจ้…ดูมันก็น่ารักดีนะครับ แต่ว่ามันคือมฤตยูแห่งทุเรียนนะครับ…

โดยทั่วไปแล้วนะครับ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยขอเจ้าเพลี้ยไก่แจ้นี่ล่ะครับ…จะคอยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน พร้อมทั้งขับถ่ายมูลทิ้งไว้นะครับ เรียกได้ว่าทั้งกินทั้งขี้เลยก็ว่าได้นะครับ…ซึ่งการทิ้งมูลทิ้งขี้ไว้นะครับมันก็จะก่อให้เกิดราดำขึ้นตามมา..แล้วเจ้าราดำก็เข้าปกคุมยอดอ่อน…แล้วก็กัดกินใบอ่อนจนหงิกงอ เหี่ยวแห้งนะครับ……พูดง่ายๆก็คือนอกจากตัวมันเองที่จะสร้างปัญหาให้กับทุเรียนแล้วยังเรียกเพื่อนฝูง เช่นพวกราดำมาทำลายทุเรียนของเราอีกด้วยนะครับ…ซึ่งเจ้าเพลี้ยไก่แจ่เนี่ย..จะสร้างความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด…แต่หมอนทองก็มีนะครับ…ตามสวนที่ผมออกพื้นที่มาแถวจังหวัดตราดตามที่เห็นในภาพนี่ละครับ


ในช่วงนี้เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนอย่างละเอียด โดยเฉพาะยอดที่แตกใบอ่อน เพราะใบอ่อนสำหรับทุเรียนสำคัญมาก จะออกเพียง 2-3 ชุดต่อปีเท่านั้น หากใบอ่อนชุดแรกเสียหายจากเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ต้นก็จะไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อการเกิดลูก กระทบต่อการปลูกทุเรียนทั้งระบบ

ในต้นที่เกิดการระบาด มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเกิดจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต เมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ ถ้าเข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมากหรือยังไม่คลี่ออก จะทำให้ใบแห้งและร่วงได้

สำหรับการป้องกันกำจัด…ซึ่งเป็นจากข้อมูลของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
โดยตามธรรมชาติทุเรียนจะแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั้งสวน…ดังนั้นหากพบการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนต้นใดต้นหนึ่ง…เกษตรกรควรพ่นสารฆ่าแมลงเฉพาะต้นนั้นๆ…นอกจากช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงแล้ว ยังไม่ไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน อย่าง ตัวห้ำและด้วงเต่า….


– หรือจะใช้วิธีจัดการเจ้าเพลี้ยไก่แจ้ในครั้งเดียว ทีเดียว…โดยไม่ต้องใช้สารฆ่าแมลงหลายๆครั้ง…ก็โดยใช้วิธีกระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยการพ่นยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร …..โดยปกติแล้วนะครับ…ทุเรียนต้องการใบอ่อนที่สมบูรณ์ 2-3 ชุดต่อปี เพี่อให้ต้นทุเรียนพร้อมที่จะให้ผลผลิตที่ดีนะครับ
– อาจจะใช้พวกกับดักกาวเหนียวสีเหลืองล่อตัวเต็มวัยเจ้าเพลี้ยไก่แจ้ที่มาโจมตีทุเรียนของเรานะครับ
– หรือว่าใช้น้ำฉีดพ่นใบอ่อนที่คลี่แล้วเพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้
– สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ระบาด ก็คือ แลมบ์ดาไซฮาโลทริน อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน อัตรา 50 มิลลิลิตร หรือ คาร์บาริล อัตรา 60 กรัม หรือ ไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน ในระยะแตกใบอ่อน

จริงๆแล้วแมลงศัตรูพืชเหล่านี้นะครับ ผมเคยได้บอกได้กล่าวพี่น้องเกษตรกร ซึ่งการป้องกันในระยะแรกของการก็คือเกษตรกรต้องหมั่นตรวจแดงตรวจพื้นที่ตรวจต้นทุเรียน ยิ่งในช่วงฝนตกและมีการแตกใบอ่อนอย่างนี้นะครับ….เราต้องเอาใจใส่และดูแลเป็นพิเศษ ต้องตรวจดูยอดอ่อนของทุเรียน เมื่อเจอปัญหาเมื่อมีเพลี้ยแมลง ก็ทำการรีบกำจัดเจ้าแต่เนิ่นๆนะครับ เพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆมันก็จะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา…ไม่ว่าจะเป็นพวกราสีดำ จนทำให้ทุเรียนเราแก้ไขไม่ทันหรืออาจจะตายได้นะครับ

นี่ก็เป็นข้อมูลอีก 1 ข้อมูลนะครับซึ่งเกษตรกรที่ปลูกใหม่บางคนยังไม่รู้ว่าปัญหาจริงๆของทุเรียนมีมากมาย พี่น้องเกษตรกรมือใหม่ก็ควรหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลานะครับ เพราะว่าการปลูกทุเรียนคือการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ เพราะปัญหามันมีให้แก้อยู่ทุกวันนะครับ…

รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปกันได้เลย…


ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇

ที่มา Youtube Channel : ฅนเกษตร
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=v0FMuT9JGwE

Show More
Top