(คลิป) เมื่อได้รับหนังสือ แต่ไม่ไประวังรังวัดแนวเขต จะเสียที่ดินจริงหรือ!!! : วีดีโอ เกษตร
- Genres:กสิกรรม(พืช), บ้านและสวน, ประมง, ปศุสัตว์, ป่าไม้, วีดีโอทั้งหมด, สาระน่ารู้
(คลิป) เมื่อได้รับหนังสือ แต่ไม่ไประวังรังวัดแนวเขต จะเสียที่ดินจริงหรือ!!! : วีดีโอ เกษตร
เมื่อได้รับหนังสือ แต่ไม่ไประวังรังวัดแนวเขต จะเสียที่ดินจริงหรือ!!!
ทำความรู้จักการรังวัดที่ดิน ก่อนเสียพื้นที่ไปแบบฟรีๆ
สำหรับคนที่อยากครอบครองที่ดินและต้องการทำการซื้อ-ขายที่ดิน นอกจากจะต้องตรวจสอบในเรื่องของโฉนดที่ดิน, ราคา, กฎหมาย, ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมไปถึงทำเลที่ต้องการซื้อแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ ‘การรังวัดที่ดิน’ อีกหนึ่งกระบวนการที่ต้องทำก่อนการซื้อ-ขายที่ดินที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ถึงความจำเป็นและรายละเอียดในด้านขั้นตอนกันสักเท่าไหร่
บทความนี้จึงได้เรียบเรียงและแจกแจงข้อควรรู้เกี่ยวกับการรังวัดที่ดินให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาก่อนตัดสินใจเลือกซื้อที่ดิน รวมถึงป้องกันการเสียสิทธิ์ในพื้นที่ไปแบบฟรีๆ โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว
ความสำคัญของการรังวัดที่ดิน
สำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการซื้อ-ขายที่ดินควรให้ความสำคัญกับการขอรังวัดที่ดิน เนื่องจากการรังวัดที่ดินจะเป็นการตรวจสอบได้ว่า ขนาดของที่ดินที่คุณต้องการซื้อ-ขายอยู่นั้นตรงกันกับขนาดที่ระบุไว้ในโฉนดหรือไม่
เพราะในบางครั้งเจ้าของที่ดินอาจทำการระบุเนื้อที่เกินหรือน้อยกว่าพื้นที่จริง เนื่องจากขาดการตรวจสอบหรือเว้นระยะการรังวัดที่ดินมานานแล้ว และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลัง คุณจึงควรทำการตกลงกับเจ้าของที่ดินเดิมให้ทำการติดต่อกับเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินกรมที่ดิน ในการเข้ามาวัดแนวเขตที่ดินให้เห็นชัดเจน
ซึ่งผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด เนื่องจากเป็นการยืนยันขนาดที่ดินในการซื้อ-ขายที่ต้องตรงตามโฉนดที่ปกติจะต้องทำการรังวัดที่ดินอยู่แล้วในทุกๆ 10 ปี เพื่อป้องกันการอ้างครอบครองปรปักษ์ โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปทำการตรวจสอบให้ตามคำขอ และทำการปักหมุดอาณาเขตที่ถูกต้องตามแปลงที่ดินจริงว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
ส่วนในกรณีที่ซื้อที่ดินมาเพื่อทำการสร้างบ้านนอกจากการรังวัดที่ดินทั่วไปแล้ว ควรให้สถาปนิกมาวัดขนาดที่ดินจากหมุดเขต เพื่อให้ได้ขอบเขตบ้านที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มความแม่นยำก่อนจะลงมือออกแบบด้วย
ประโยชน์ของการรังวัดที่ดิน
เมื่อทราบว่าการรังวัดที่ดินคืออะไรไปแล้ว มาทราบถึงประโยชน์ของการรังวัดที่ดินกันต่อดีกว่าว่า จะช่วยให้เจ้าของที่ดินได้รับสิทธิในด้านใดได้บ้าง
– ป้องกันการเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เนื่องจากโดนแย่งกรรมสิทธิ์จากการรุกล้ำที่ดินโดยบุคคลอื่น เช่น การเลื่อนเขตหมุดที่ปักใหม่, การทำลายหมุด, การรุกล้ำพื้นที่ เป็นต้น
– ป้องกันการถูกรอนสิทธิ์ในที่ดิน ยกตัวอย่างเช่น การถูกใช้ที่ดินเป็นทางเข้า-ออกจากบุคคลอื่น
– ป้องกันการเหลื่อมล้ำจากเส้นทางสาธารณประโยชน์อื่นๆ เข้ามาในที่ดินของเรา เช่น คลอง, ห้วย เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้เจ้าของที่ดินโดนแบ่งหักที่ดินออกไปแบบไม่รู้ตัว
– เพื่อให้รับรู้ถึงแนวเขตการครอบครองที่เปลี่ยนไปใหม่
– แก้ปัญหาการทับซ้อนของเขตจากที่ดิน นส.3 ก (โฉนดตราครุฑสีเขียว) เพื่อให้ทราบขนาดที่ดินที่ชัดเจน ซึ่งหากตรวจสอบจนชัดเจนแล้วจะสามารถเปลี่ยนเป็นโฉนดนส.4 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เลย
ประเภทของการรังวัดที่ดิน
การรังวัดที่ดินสามารถยื่นคำขอได้ใน 3 กรณีด้วยกัน คือ
การรังวัดแบ่งแยก
หากเจ้าของที่ดินต้องการแบ่งที่ดินผืนใหญ่ออกเป็นหลายๆ แปลง ไม่ว่าจะด้วยการแบ่งขาย มอบเป็นมรดก หรือสาเหตุอื่นๆ เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดินใหม่ และทำการออกโฉนดที่ดินของแปลงที่แบ่งแยกใหม่ให้แก่เจ้าของที่ดินเพิ่มเติมด้วย
การรังวัดรวมโฉนด
หากเจ้าของที่ดินทำการซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่ดินผืนเดิมแล้วต้องการรวมโฉนดใหม่ฉบับเดียว เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดินใหม่ และทำการออกโฉนดที่ดินแบบรวมใหม่ให้แก่เจ้าของที่ดินเพิ่มเติม
การรังวัดสอบเขต
หากเจ้าของที่ดินต้องการทราบเนื้อที่ทั้งหมดว่าตรงกันกับในโฉนดหรือไม่ และมีสภาพที่ดินที่แท้จริงในขนาดกี่ไร่ กี่งาน หรือกี่ตารางวา รวมถึงหากมีกรณีสูญหายของหมุดปักบอกอาณาเขต
เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเพื่อดำเนินการรังวัดและปักหลักหมุดให้ใหม่หากหลักหมุดเดิมหาย และแก้ไขเลขหมายหลักหมุดรวมถึงแนวอาณาเขตของที่ดินลงในโฉนดใหม่ให้ถูกต้อง
สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรทราบก่อนการทำรังวัด
เพื่อที่จะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้อง อีกทั้งไม่เสียที่ดินและเวลาไปแบบฟรีๆ ยังมีอีก 3 สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรจะทราบและตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนทำการรังวัดที่ดิน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เอกสารและที่ดินที่มีเป็นแบบใด
อย่างแรกที่เจ้าของที่ดินจะต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนการรังวัดที่ดินเลยก็คือ เรื่องของโฉนดที่ดิน โดยจะต้องจรวจสอบให้ดีว่า โฉนดที่ถืออยู่เป็นโฉนดที่ดินหรือเป็นเอกสารสิทธิที่ดินเท่านั้น และถ้าเป็นโฉนดที่ดินที่เจ้าของมีสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ตัวโฉนดเป็นรูปแบบใดดังต่อไปนี้
– สปก. (ตราครุฑสีน้ำเงิน) เป็นหนังสือที่ดินทำกินห้ามโอนเปลี่ยนมือ
– นส.3 (ตราครุฑสีดำ) อนาคตสามารถออกเป็นโฉนดได้ สามารถซื้อขาย และจำนองได้ แต่ตอนจะขายต้องประกาศว่าจะขายล่วงหน้า
– นส.3 ก. (ตราครุฑเขียว) สามารถซื้อขาย จำนองได้ และตอนขายไม่ต้องประกาศว่าจะขายล่วงหน้า
– โฉนดนส.4 (ตราครุฑสีแดง) สามารถซื้อขาย จำนองได้ และสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
นอกจากเรื่องของโฉนดที่ดินแล้วยังต้องตรวจสอบพื้นที่รอบของที่ดินว่า มีใครเป็นเจ้าของบ้าง เผื่อในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าต้องออกหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงไประวังชี้รับรองเขตเพิ่มเติมจะต้องสามารถติดต่อได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
2. วิธีการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน
เจ้าของที่ดินจะต้องทำการเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อนำมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. ทะเบียนบ้าน
3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
4. โฉนดที่ดิน หรือหนังสือการรองรับทำประโยชน์ที่ดิน
หลักจากนั้นให้นำมายื่นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมทั้งทำการนัดวันเวลา สถานที่ และประเมินค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อย (สามารถเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดของค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนทำการยื่นขอรังวัดที่ดินได้ที่ เว็บไซต์กรมที่ดิน) https://www.dol.go.th/Pages/การรังวัด-รวม-แบ่งแยก-สอบเขตที่ดิน.aspx
ส่วนในวันที่ทำการรังวัดที่ดินเจ้าหน้าที่จะใช้กล้องสำรวจเพื่อเก็บรายละเอียดรูปแปลงที่ดิน ซึ่งเจ้าของบ้านควรถ่ายรูปแนวเขตไว้เป็นหลักฐาน และรอเจ้าหน้าที่นัดรับโฉนดใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมในวันต่อๆ ไป เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการรังวัดที่ดินเรียบร้อยแล้ว
3. วิธีการทำรังวัดที่ดิน
การรังวันที่ดินจะมีอยู่ทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การรังวัด เป็นวิธีการวัดระยะความกว้างยาวของที่ดิน
2. การปักเขต เป็นวิธีการที่เจ้าหน้าที่ใช้หลักปักให้รู้ว่าที่ดินมีแนวอย่างไร
3. การทำเขต เป็นวิธีการทำแนวเขต เพื่อให้รู้ว่าที่ดินมีรูปร่างอย่างไร และจดที่ดินข้างเขียงแปลงใดบ้าง
4. การคำนวณเนื้อที่ จะใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ที่ดินแปลนั้นมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเป็นเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินเข้ามาดำเนินการให้ตามจุดประสงค์ของการขอรังวัดที่ดินใหม่ไม่ว่าจะเป็น การสอบเขตการรังวัดแบ่งแยกและรวมโฉนดที่ดิน, การรังวัดเพื่อแบ่งขายให้ การรังวัดแบ่งแยกในนามเดิม หรือเจ้าของที่ดินต้องการแบ่งกรรมสิทธิ์ใหม่ให้ลูกหลาน เป็นต้น
สรุป
การรังวัดที่ดินเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีประโยชน์กับตัวเจ้าของที่ดินทั้งในแง่ของการซื้อ-ขายหรือการครอบครองในกรรมสิทธิ์เป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นวิธีการป้องกันสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่มีมาอย่างยาวนาน และป้องกันการถูกรุกล้ำจากพื้นที่ด้านข้าง ซึ่งหากปล่อยทิ้งร้างไว้นานๆ ไม่มีการตรวจสอบอาจทำให้ที่ดินผืนงามสูญเสียไปได้แบบไม่รู้ตัว
ดังนั้น หากใครที่กำลังมีแนวโน้มจะซื้อที่ดินหรือมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่แล้ว หลังจากทำการรังวัดแนะนำให้นำที่ดินผืนนั้นมาสร้างประโยชน์ เพราะนอกจากจะเป็นการป้องกันการรุกล้ำได้แล้ว ยังช่วยสร้างรายได้และเป็นการช่วยในด้านการลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่มีการบังคับใช้แล้วได้อีกด้วย
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปกันได้เลย…
ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇
ที่มา Youtube Channel : อานนท์ เชื้อสัตตบงกช
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=xTZMzqSZfio