(คลิป) ไอเดียซุ้มไม้เลื้อย PVC ด้วยงบหลักร้อย Garden Trellis Ideas Cattle Panel Trellis สวนผักพ่อครัว : วีดีโอ เกษตร

10.66K Views

(คลิป) ไอเดียซุ้มไม้เลื้อย PVC ด้วยงบหลักร้อย Garden Trellis Ideas Cattle Panel Trellis สวนผักพ่อครัว : วีดีโอ เกษตร

ไอเดียซุ้มไม้เลื้อย PVC ด้วยงบหลักร้อย /Garden Trellis Ideas / Cattle Panel Trellis / สวนผักพ่อครัว

ไอเดียการทำซุ้มไม้เลื้อยจากท่อ PVC ด้วยงบหลักร้อย จะเป็นยังไงไปดูกันครับ…

+++ ความรู้เพิ่มเติม +++

ท่อพีวีซี (PVC) ท่อพีอี (PE) และท่อพีบี (PB) คืออะไร

ท่อพีวีซี (PVC) เป็นชื่อเรียกที่คนทั่วไปรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี PVC ย่อมาจากคำว่า โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง เช่น มีความเหนียวยืดหยุ่นตัวได้ ทนต่อแรงดันน้ำได้ดี ทนต่อการกัดกร่อนของกรดหรือด่างได้ดี ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดีเพราะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เป็นวัสดุไม่ติดไฟ มีผิวมันเรียบช่วยให้การไหลของน้ำได้ดี มีน้ำหนักเบาและราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ เปราะ กรอบ และแตกหักง่าย ไม่ทนทานต่อแรงกระแทกและแสงแดดหรือแสงยูวี (UV)

ท่อพีวีซี ที่ใช้กันในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 4 เมตร ยกเว้นท่อพีวีซีบางประเภท ซึ่งอาจยาว 3 หรือ 6 เมตรบ้าง ท่อพีวีซี ที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด โดยแบ่งแยกการใช้งานตามสีต่างๆ เช่น สีฟ้า สีเหลือง สีเทา หรือสีขาว

ชนิดที่ 1 ท่อพีวีซีสีฟ้า ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน มอก.17-2532 (ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม) เป็นท่อที่นิยมใช้ในงานสุขาภิบาลในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อประปาสำหรับระบบน้ำดื่ม ซึ่งต้องรับแรงดันน้ำ หรือใช้กับระบบปั๊มน้ำ หรืองานท่อระบายน้ำ มีความหนาตามระดับการรับแรงกดดันได้ของท่อ โดยมีหน่วยระบุถึงความสามารถในการรับแรงกดดันได้ของท่อ เป็น กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร เช่น มาตรฐานท่อพีวีซีขนาด 8.5 หรือ 13.5 กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร (PVC-8.5 หรือ PVC-13.5) ใช้เป็นท่อประปาสำหรับระบบน้ำดื่มหรือระบบปั๊มน้ำ ซึ่งต้องรับแรงดันน้ำมาก สำหรับท่อระบายน้ำทิ่งหรือท่อน้ำโสโครกซึ่งไม่มีแรงดันน้ำ นิยมใช้มาตรฐานท่อขนาด 5 กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร (PVC-5) ท่อพีวีซีสีฟ้าเหล่านี้ เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคารหรือในที่ร่มเท่านั้น ไม่ควรใช้งานภายนอกอาคารที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดเนื่องจากไม่มนต่ออุณหภูมิที่สูง และไม่ควรใช้กับอาคารที่ทรุดตัวได้ง่าย เพราะจะทำให้ท่อแตกหักหรือฉีกขาดออกจากกันได้

ชนิดที่ 2 ท่อพีวีซีสีเหลือง ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน มอก.216-2524 (ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้ร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์) เป็นท่อที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์โดยเฉพาะ โดยคำนึงถึงมาตรฐานความเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นหลัก ท่อพีวีซีสีเหลืองนี้เหมาะสำหรับใช้ร้อยสายไฟภายในอาคารหรือในร่มเท่านั้น ไม่ควรใช้ร้อยสายไฟภายนอกอาคาร เพราะกฎของการไฟฟ้าฯ จะไม่อนุญาตให้ใช้

ชนิดที่ 3 ท่อพีวีซีสีเทา เป็นท่อที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานด้านการเกษตร เช่น เป็นท่อระบายน้ำทางการเกษตร หรือระบายน้ำสิ่งปฎิกูล หรือใช้ระบายน้ำในงานชั่วคราวที่ไม่ต้องรับแรงดันน้ำหรือไม่ต้องการความแข็งแรงของท่อมากนัก ราคาค่อนข้างถูก ท่อพีวีซีสีเทาที่ใช้งานด้านการเกษตรนี้ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม สำหรับท่อพีวีซีสีเทาใช้สำหรับระบายน้ำในงานอุตสาหกรรม ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อาจมีสารเคมีหรือของมีพิษระบายออกมาด้วย ต้องใช้ท่อมาตรฐาน มอก. 999-2533 (ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม)

สำหรับท่อพีอี (PE) นั้นย่อมาจากคำว่า โพลีเอทิลีน (polyethylene) ส่วนท่อพีบี (PB) ย่อมาจากคำว่า โพลีบิวทีลีน (polybutylene) ท่อพีอีและท่อพีบี เป็นท่อพลาสติกสีดำ ที่มีความหนาแน่นสูง ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน มอก.910-2532 (ท่อโพลิบิวทิลีนสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม) ทั้งท่อพีอีและท่อพีบี มีการผลิตได้สองรูปแบบคือ ชนิดอ่อนและชนิดแข็ง ชนิดอ่อนหมายถึง ท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ½ ถึง 4 นิ้ว ที่สามารถม้วนความยาวท่อได้ถึง 200 เมตร ส่วนชนิดแข็งหมายถึง ท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 นิ้ว ซึ่งจะม้วนและขนส่งได้ลำบาก จึงนิยมตัดเป็นท่อนๆ ความยาวท่อนละ 4 ถึง 6 เมตร

ท่อพีอีและท่อพีบีมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่น มีความยืดหยุ่นตัวและโค้งไปมาได้สูงมาก ทนแรงดันได้สูงถึง 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว ทนทานต่อการฉีกขาด ทนทานต่อแรงกระแทกได้เป็น 2 เท่าของท่อพีวีซี ทนทานต่อความร้อน/ความเย็น ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดี คงทนต่อสารเคมี มีผิวเรียบมัน จึงมีแรงเสียดทานในเส้นท่อน้อย ทนทานต่อแสงยูวี (UV) อายุใช้งานยาวนานถึง 50 ปี มีน้ำหนักเบากว่าท่อพีวีซีและท่อเหล็ก โดยมีน้ำหนักเพียง 2/3 ของท่อพีวีซี และ 1/5 ของท่อเหล็ก สำหรับข้อด้อยของท่อพีอีและท่อพีบีคือ ราคาค่อนข้างแพง การประกอบท่อจะต้องใช้อุปกรณ์หรือช่างที่ชำนาญงานโดยเฉพาะ ทั้งนี้ การต่อท่อพีอีและท่อพีบี สามารถทำได้ 3 แบบคือ แบบเชื่อมหลอมละลายด้วยความร้อน แบบใช้เครื่องมือผายปากท่อให้กว้างและยึดด้วยข้อต่อเกลียว และแบบกัดเกลียวที่ปลายท่อแล้วยึดด้วยข้อต่อเกลียว

ท่อพีอีและท่อพีบีสามารถนำไปใช้งานต่างๆ ได้มากมาย เช่น ใช้กับท่อประปาที่มีแรงดันสูง หรือต้องสัมผัสแสงแดด หรือต้องรับแรงกดในกรณีที่ท่อต้องลอดใต้ถนน ใช้ในงานท่ออุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ท่อแก๊ส ท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่อใต้น้ำ ท่อน้ำร้อน ท่อลำเลียงสารเคมี โดยท่อพีอี เหมาะสำหรับการใช้งานที่แรงกดดันสูงมาก หรือท่อที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น ใช้ในงานชลประทาน ใช้งานอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในงานท่อลอดใต้ดิน หรือลอดใต้แม่น้ำ ส่วนท่อพีบี เหมาะสำหรับการใช้งานที่แรงกดดันปานกลาง หรือท่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และนิยมใช้ในงานท่ออุตสาหกรรมที่ต้องทนความร้อนสูงกว่าท่อพีอี เช่น ใช้เป็นท่อน้ำร้อนสำหรับงานท่อประปาทั่วไป ใช้ในงานเกษตรกรรม และใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป

จากข้อมูลเกี่ยวกับ ชนิด คุณลักษณะ คุณสมบัติ และข้อดีข้อเสีย ต่างๆ ของท่อพีวีซี ท่อพีอีและท่อพีบี ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น หวังว่าท่านผู้ฟังทุกท่าน คงจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ท่อชนิดต่างๆ ได้เหมาะสมกับงานและเงินในกระเป๋าของท่านนะคะ

ที่มา Youtube Channel : สวนผักพ่อครัว
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=RJv-4EF69XE

Show More
Top