Site icon วีดีโอ เกษตร VDO Kaset

ทำอาหารในป่า อาหารแปลก!! เมนูหนอนขี้วัว สูตรครัวป่าไผ่

วีดีโอ เกษตร : ทำอาหารในป่า อาหารแปลก!! เมนูหนอนขี้วัว สูตรครัวป่าไผ่

บ่าขี้เบ้าเป็นคำพื้นบ้านของเกษตรกรภาคเหนือที่ใช้เรียกรังของตัวอ่อนแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดประมาณลูกเทนนิส ส่วนตัวเต็มวัยหรือแมลงพ่อแม่เรียกว่า แมงซู่ซ่า หากจับจะส่งเสียงร้องดังซู่ซ่า ๆ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ แมงซู่ซ่าเป็นแมลงปีกแข็งที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายแมงกุดจี่ของทางภาคอีสาน แต่ตัวโตกว่ามาก ขนาดความยาวตั้งแต่ปากจนถึงก้นประมาณ 4.5 เซนติเมตร ความกว้างลำตัวประมาณ 3.5 เซนติเมตร หรือบางแห่งเรียกว่าแมงจู้จี้

แมงซู่ซ่า มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับขี้ควายตั้งแต่เกิดจนตาย จากการสอบถามเกษตรกรยังไม่ เคยมีใครพบเห็นแมงซู่ซ่าอาศัยอยู่กับขี้วัวเลย ขี้วัวโดยทั่วไปจะเห็นเฉพาะแมงซีหรือทางอีสานเรียกแมงกุดจี่เท่านั้น ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ตัวเต็มวัยเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะบินไปหากองขี้ควายที่ใหม่ ๆ สด ๆ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและวางไข่ โดยแม่พันธุ์จะใช้ปากที่แข็งแรงคล้ายผาลของรถแทรกเตอร์ขุดรูใต้กองขี้ควายขนาด ความลึกประมาณ 1 ศอก หรือบางหลุมอาจจะลึกกว่านี้โดยก้นหลุมจะทำเป็นโพรงขนาดใหญ่

จากนั้นแม่พันธุ์จะวางไข่บนขี้ควายแล้วกิจกรรมปั้นก้อนขี้ควาย ที่มีไข่อยู่ภายในก็เริ่มขึ้น โดยใช้ปากดันถอยหลัง ขาหลังทำหน้าที่ปั้นก้อนขี้ควายให้เป็นก้อนกลมขนาดใหญ่แล้วลำเลียงขนลงไปไว้ในโพรงก้นหลุมที่ทำไว้ แล้วจะกลับขึ้นมาวางไข่และปั้นก้อนขี้ควาย ขนลงหลุม ทำจนกระทั่งขี้ควายหมดกอง ซึ่งในแต่ละหลุมนั้นมีจำนวนก้อนบ่าขี้เบ้าไม่เท่ากัน บางหลุมมีถึง 15 ก้อนและขนาดไม่เท่ากัน หากเป็นก้อนขี้เบ้าจากควายหงาน (พ่อควายตัวโต ๆ ขึ้นเปรียว) ก้อนขี้เบ้าก็จะมีขนาดใหญ่ตาม หลังจากปั้นก้อนขี้ควาย ส่งลงหลุมหมดกองแล้ว แม่พันธุ์จะลงไปขุดเพื่อขยายโพรงให้กว้างโดยลำเลียงดินขึ้นมาไว้บนปากรู

บักขี้เบ้าก็จะอาศัยการสังเกตกองดินที่ถูกขนขึ้นมาโดยเรียกว่า ขี้ขวย เมื่อได้โพรงขนาดใหญ่แล้วแม่พันธุ์ก็จะเริ่มกิจกรรมกลิ้งก้อนขี้เบ้าในโพรงต่อเพื่อให้ดินมาพอกก้อนขี้เบ้า อีกชั้น ไข่เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนจะอาศัยก้อนขี้ควายกินเป็นอาหารเพื่อเจริญเติบโต ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ตัวอ่อนจะกลายเป็นดักแด้

คลิป : SAN CE
ติดตาม : https://www.youtube.com/watch?v=OoK6cRAMy3E

Exit mobile version