Site icon วีดีโอ เกษตร VDO Kaset

(คลิป) เจอแล้วห้ามถอนทิ้ง ‘กะเม็ง’ ของดีของแพงตลาดต้องการ บำรุงกำลังดีเลิศ และอายุยืน : สมุนไพร วีดีโอ เกษตร

(คลิป) เจอแล้วห้ามถอนทิ้ง ‘กะเม็ง’ ของดีของแพงตลาดต้องการ บำรุงกำลังดีเลิศ และอายุยืน : สมุนไพร วีดีโอ เกษตร

ถ้ามีประโยชน์ ฝากแชร์ต่อ ด้วยนะครับ

+++ ความรู้เพิ่มเติม +++

กะเม็ง

กะเม็ง ชื่อสามัญ False daisy, White head, Yerbadetajo herb มีชื่อเครื่องยาว่า Herba Ecliptae

กะเม็ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) เช่นเดียวกับกะเม็งตัวผู้

สมุนไพรกะเม็ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะเม็งตัวเมีย กาเม็ง คัดเม็ง (ภาคกลาง), หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว ห้อมเกี้ยว (ภาคเหนือ), บังกีเช้า (จีน), ฮั่นเหลียนเฉ่า (จีนกลาง), บักอั่งเน้ย, อั่วโหน่ยเช่า, เฮ็กบักเช่า (จีน-แต่จิ๋ว) เป็นต้น

กะเม็ง มีทั้ง “กะเม็งตัวผู้” และ “กะเม็งตัวเมีย” จำกันง่าย ๆ ก็คือ กะเม็งตัวผู้ดอกมีสีเหลืองใหญ่ ส่วนกะเม็งตัวเมียดอกมีสีขาวและมีขนาดเล็ก และในบทความนี้เราจะพูดถึงเฉพาะกะเม็งตัวเมียครับ

ลักษณะของกะเม็ง

– ต้นกะเม็ง จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่ทอดไปตามพื้นตั้ง มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงและมีขนละเอียด บางต้นค่อนข้างเกลี้ยง และจะแตกกิ่งก้านที่โคนต้น

– ใบกะเม็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหอกเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเป็นรอยเว้าเข้าเล็กน้อยทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบหรือเป็นจักห่าง ๆ ประมาณ 2-3 จักช่วงปลายใบ ขอบใบทั้งสองด้านมีขนสั้น ๆ สีขาว ใบกว้างประมาณ 0.8-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ก้านใบไม่มี (ถ้าเกิดในที่แห้งแล้งใบจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้นมีน้ำมากใบจะใหญ่)

– ดอกกะเม็ง ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวที่บริเวณยอด หรือ 1-3 ช่อบริเวณง่ามใบ ดอกวงนอกรูปลิ้น เป็นดอกเพศเมีย มีประมาณ 3-5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ส่วนดอกวงในกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ที่ปลายแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีสีขาวและเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ส่วนก้านดอกเรียวยาว มีความยาวประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร

– ผลกะเม็ง ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีเหลืองปนดำ เมื่อนำมาขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา ส่วนผลแก่แห้งมีสีดำไม่แตก ปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ขนาดของผลยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกะเม็ง

– ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้เข้ายาอายุวัฒนะได้หลายตำรับ มีทั้งใช้เดี่ยวและใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ด้วยการทำเป็นผงหรือปั้นเป็นยาลูกกลอน ทำเป็นยาชงดื่มแทนชา หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งกินทุกวันเดือนดับ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นต้น)

– ต้นกะเม็งใช้เป็นยาบำรุงเลือด (ต้น, ราก)

– รากใช้ต้มเอาแต่น้ำกิน ช่วยแก้โรคโลหิตจาง (ราก)

– ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แก้อาการปวดเมื่อย โดยใช้ต้นผสมกับพริกไทยและน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นลูกเล็ก ๆ (ต้น)

– ช่วยแก้โรคกระษัย ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบางผสมกับน้ำร้อนครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำผึ้งแท้ 1 ใน 3 ส่วนของน้ำร้อนแล้วนำมารับประทานจะช่วยแก้กษัยได้ สูตรนี้ยังช่วยขับปัสสาวะและเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย (ทั้งต้น)

– ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้มะเร็ง (อาการเป็นแผลเรื้อรัง เน่าลุกลาม และรักษายาก) (ต้น, ทั้งต้น)

– มีการใช้กะเม็งในการรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการนำต้นกะเม็งมาตากแดดให้แห้งแล้วนำไปคั่วให้พอหอม นำมาชงกับน้ำร้อนใช้ดื่มเป็นชา (ต้น)

– น้ำคั้นจากต้นช่วยรักษาอาการดีซ่าน (ทั้งต้น)

– ช่วยรักษาอาการทางประสาท เป็นลมวิงเวียน มีอาการชักเกร็ง มือเกร็งและเกี่ยวกัน (อาการคล้ายกับโรค Hyperventilation) โดยใช้กะเม็งเป็นตัวยาหลักนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมอื่น ๆ เช่น ว่านหอมเปราะ ขิง เป็นต้น แล้วนำน้ำคั้นมาจิบกิน และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นดังกล่าวนำมาเช็ดหน้าและคลุมหัวไว้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นต้น)

– ช่วยแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ลมตะกัง) ด้วยการใช้น้ำคั้นจากต้นนำมาหยอดที่จมูกเวลามีอาการปวด (ต้น)

– ใช้แก้อาการมึนศีรษะ ตาลาย (ต้น)

– ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับตา (ราก) ช่วยแก้อาการเจ็บตา แก้ตาแดง ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือนำมาต้มใส่น้ำตาลพอหวานเล็กน้อย ต้มให้เดือดประมาณ 15 นาทีแล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง (ต้น, ทั้งต้น)

– ช่วยแก้อาการหูอื้อ (ต้น)

– ช่วยแก้หืด (ทั้งต้น) หอบหืด (ราก)

– ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น, ราก)

– ใช้ต้นนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำหอม ใช้สูดดมช่วยแก้ไข้หวัดและโรคดีซ่าน (ต้น)

– ช่วยลดไข้ในเด็กได้ ด้วยการใช้รับประทานหรือนำมาต้มน้ำอาบ (ต้น)

– ช่วยแก้หวัด อาการน้ำมูกไหลของทารก (ใบ)

– แก้อาการไอเป็นเลือด ก้อนเลือด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 20-60 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำอุ่นกิน (ต้น)

– ช่วยแก้อาการไอกรน (ต้น)

– ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าต้มกินหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง และในขณะที่มีเลือดกำเดาไหลที่จมูกก็ให้ตำคั้นเอาน้ำชุบสำลีอุดจมูกไว้ จะช่วยห้ามเลือดได้ดี (ต้น)

– ช่วยทำให้อาเจียน (ใบ, ราก)

– ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 120 กรัม นำมาตำชงกับปัสสาวะเด็กกิน (ต้น)

– หากปากและเหงือกเป็นแผล ให้ใช้ต้นนำมาอมแล้วบ้วนจะช่วยรักษาแผลได้ (ต้น)

– ช่วยแก้เด็กปากเปื่อย ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อรา ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบของต้น 2 หยดผสมกับน้ำผึ้ง 8 หยด แล้วนำมาใช้ทาแผลเปื่อยเป็นประจำ (ใบ)

– ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ต้นสดนำมาผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผง นำมาใช้ทาบริเวณเหงือกจะช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ต้น) หรือใช้ดอกและใบนำมาต้มแล้วทาบริเวณเหงือก หรือนำดอกและใบมาต้มน้ำให้งวด แล้วนำมาใช้อม (ดอก, ใบ)

– ช่วยแก้คอตีบ ขับเสลด โดยใช้ต้น 60-90 กรัม นำมาบดใส่เกลือเล็กน้อยใช้ชงกับน้ำกิน จะช่วยขับเสลดออกมา (ต้น)

– ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ต้น)

– ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (ราก)

– ช่วยแก้ลมให้กระจาย แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ต้น)

– รากกะเม็งใช้เป็นยาขับลม แก้อาการท้องเฟ้อ (ราก)

– ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ทั้งต้น)

– ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ราก)

– ใบและรากใช้เป็นยาถ่าย (ใบ, ราก)

– ช่วยแก้บิดถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ต้นแห้งประมาณ 30 กรัม ถ้าต้นสดให้ใช้ประมาณ 120 กรัม นำมาต้มน้ำกินติดต่อกัน 3-4 วัน (ต้น) ส่วนรากก็ช่วยแก้โรคบิดเช่นกัน (ราก)

– ช่วยแก้เลือดออกในลำไส้และในปอด หรือมีแผลภายในมีเลือดออก ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 10 กรัม ผสมน้ำตาลกรวดต้มกิน หรือจะการใช้เมล็ดนำมาผิงไฟให้แห้งแล้วบดให้เป็นผงผสมกับน้ำข้าว ใช้กินวันละ 2 กรัม (ต้น, เมล็ด)

– ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ (ต้น)

– ต้นช่วยแก้อุจจาระเป็นเลือด (ต้น)

– ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)

– ช่วยบำรุงอวัยวะเพศ (ต้น) ช่วยบำบัดอาการบกพร่องของอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง ช่วยเสริมพลังทางเพศ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น)

– ช่วยรักษาหนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสดและใบผักกาดน้ำสด ๆ อย่างละเท่า ๆ กันประมาณ 60 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ใบ) ส่วนต้นก็ช่วยรักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือดเช่นกัน (ต้น)

– ช่วยแก้อาการฝันเปียกอันเนื่องมาจากภาวะหยินของตับและไตพร่อง (ต้น)

– ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ด้วยการใช้ต้นประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกินกับหมูหรือเป็ดก็ได้ (ต้น)

– ช่วยรักษาตับอักเสบเรื้อรัง ด้วยการใช้ต้นประมาณ 3-4 ต้น นำมาต้มให้เดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยพอหวาน ใช้ดื่มไม่เกิน 2 วัน จะช่วยแก้ตับอักเสบ บวมช้ำ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส และช่วยฟื้นฟูตับ (ต้น)

– ช่วยบำรุงไต (ต้น) อั่วโหน่ยเช่ามีรสเปรี้ยวอมหวานและเย็น มีฤทธิ์ช่วยบำรุงตับและไต (ต้น)

– หากเริ่มเป็นโรคไต ถ้าเป็นได้ไม่นานก็ให้ใช้ทั้งต้นแห้ง 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น หรือจะใช้ต้มดื่มแทนน้ำทั้งวันก็ได้ โดยจะช่วยล้างสารพิษที่ตกค้างในไตจนหมด ทำให้ไตสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง และไม่มีอาการปวดเมื่อย นอกจากนี้ยังช่วยในการชะลอวัย ทำให้ผิวพรรณดูสดใส ไม่ตกกระอีกด้วย หรืออีกสูตรให้เอาต้นมะเก็ง ต้นงวงช้าง น้ำนมราชสีห์อย่างละเท่ากัน นำมาตำให้ละเอียดผสมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำรับประทานทุกวัน (ทั้งต้น)

– ช่วยบำรุงตับและม้าม แก้ตับอักเสบ (ราก)

– ช่วยแก้ช่องคลอดเป็นผื่นคัน ด้วยการใช้ต้นประมาณ 120 กรัม นำมาต้มเอาน้ำผสมสารส้มใช้ชะล้าง (ต้น)

– ใบกะเม็งนำมาโขลกเพื่อใช้พอกแผลสดเพื่อห้ามเลือด (ใบ), เป็นยาฝาดสมาน (ต้น, ทั้งต้น), ต้นมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น ช่วยแก้อาการเลือดออกเพราะภาวะหยินพร่องที่ทำให้เลือดร้อน เช่น อาการตกเลือดในสตรี ถ่ายหรือปัสสาวะเป็นเลือด ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เป็นต้น (ต้น) และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อีกด้วย

– ใช้เป็นยาห้ามเลือด ช่วยแก้บาดแผลมีเลือดออก รักษาแผลตกเลือด โดยใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกแผล ถ้าเป็นต้นแห้งให้นำมาบดเป็นผงแล้วใช้โรยที่แผล (ต้น) หรือใช้ใบนำมาตำแล้วพอกแผลก็ช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)

– ช่วยแก้อาการอักเสบ บวมช้ำ ด้วยการใช้ต้นสด 3-4 ต้น นำมาล้างให้สะอาดแล้วนำไปต้มน้ำให้เดือดประมาณ 10 นาที แล้วผสมน้ำตาลทรายลงไปพอให้มีรสหวาน แล้วนำมาใช้ดื่มไม่เกิน 2 วัน อาการจะดีขึ้น (ต้น)

– ช่วยแก้อาการอักเสบเนื่องจากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด (ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นต้น)

– ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก มีอาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ต้นนำมาบดตำแล้วพอกที่แผล จะช่วยลดอาการอักเสบ อาการปวดแสบปวดร้อนได้ โดยให้พอกไปเรื่อย ๆ และเปลี่ยนยาบ่อย ๆ อาการอักเสบจะดีขึ้นเอง (ไม่ได้ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นต้น)

– น้ำคั้นจากต้นใช้ทาแก้ขี้กลาก (ต้น) ช่วยแก้กลาก เกลื้อน (ทั้งต้น) รักษาโรคผิวหนังเป็นกลากเกลื้อนเนื่องจากเชื้อรา (ใบ)

– ต้นใช้ทาพอกแก้ผื่นคัน แก้ฝีพุพอง (ต้น)

– ช่วยรักษาโรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา โรคผิวหนังเรื้อรัง ช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า เนื่องจากการศึกษาวิจัยพบว่ากะเม็งนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ส่วนวิธีการใช้ ก็ให้ใช้น้ำคั้นจากใบสดนำมาทาบริเวณมือและเท้า แล้วปล่อยให้แห้งก่อนหรือหลังการลงไปทำนาจะช่วยป้องกันมือเท้าเปื่อยได้ แต่ถ้ามือเท้าเปื่อยอยู่แล้วก็ให้ใช้น้ำคั้นจากใบนำมาทารักษาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย (ใบ)

– ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยบริเวณเอวและหัวเข่า (ต้น)

– รากกะเม็ง ช่วยแก้อาการเป็นลมหน้ามืดหลังการคลอดบุตร (ราก)

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรกะเม็ง

– ต้นกะเม็งตัวเมียที่นำมาใช้ทำยา ควรนำมาทำยาตอนสด ๆ เพราะถ้าเก็บไว้นานประสิทธิภาพจะเสื่อมไป

– การเก็บกะเม็งเพื่อใช้เป็นยานั้น ควรเก็บมาทั้งต้นในขณะที่ต้นเจริญเต็มที่และกำลังออกดอก เมื่อเก็บมาแล้วก็ล้างเศษดินออกให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นท่อน ๆ หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาตากหรือผึ่งให้แห้ง แล้วเก็บไว้ที่แห้งและเย็น และยากะเม็งแห้งที่ดีควรมีสีเขียว ไม่มีเชื้อราหรือไม่มีสิ่งอื่นมาเจือปน

– ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการม้ามพร่อง ไตหยินพร่อง มีอาการปัสสาวะบ่อย ๆ ไม่หยุด หรือถ่ายเป็นน้ำมาก

ประโยชน์ของต้นกะเม็ง

– ทั้งต้นใช้ผสมกับลูกมะเกลือดิบ นำมาโขลกใช้ย้อมสีผ้าให้ดำได้

– น้ำคั้นจากต้นใช้ย้อมสีผมให้ดำ ทำให้คิ้วหนวดดกดำ

– ช่วยแก้ผมหงอกก่อนวัย ด้วยการใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ใช้ทาให้ทั่วศีรษะจะช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัย

– ในประเทศอินเดียมีการใช้น้ำคั้นจากต้นสดมาใช้สัก เพื่อให้รอยสักเป็นสีเขียวคราม

– มีผลงานการทดลองของโรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ได้ทดลองการทำหมึกโรเนียวจากต้นกะเม็ง โดยผลการทดลองพบว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหมึกโรเนียวในท้องตลาด จะได้ตัวอักษรที่ชัดเจนและแห้งเร็ว

คลิปโดย : My Aomsin
คลิป ติดตาม : https://www.youtube.com/watch?v=40VwVHhqkc8

Exit mobile version