(คลิป) การเผาถ่านด้วยเตาซิ่ง เผาง่ายใช้เวลาน้อยได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง : วีดีโอ เกษตร
- Genres:ป่าไม้, วีดีโอทั้งหมด, อาชีพ
(คลิป) การเผาถ่านด้วยเตาซิ่ง เผาง่ายใช้เวลาน้อยได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง : วีดีโอ เกษตร
การเผาถ่านด้วยเตาซิ่งเผาง่ายใช้เวลาน้อยได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปด้านบนกันได้เลย..
+++ ความรู้เพิ่มเติม +++
ถ่านจะมีคุณภาพดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ
1. ชนิดของไม้ที่ใช้ในการผลิตถ่าน โดยทั่วไปไม้เนื้อแข็งจะให้ถ่านไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าไม้เนื้ออ่อน จากข้อมูลการสอบถามพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้ถ่าน และผู้ผลิตถ่านพบว่าถ่านไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดคือถ่านจากไม้โกงกาง และถ่านจากไม้มะขาม โดยเชื่อว่าถ่านจากไม้มะขามจะให้พลังงานความร้อนสูง และมีระยะเวลาการเผาไหม้นานกว่าไม้ชนิดอื่น (อธิรัช ราชเจริญ, 2555) และยังมีการศึกษาศักยภาพทางด้านพลังงานและการเปรียบเทียบผลผลิตถ่านของไม้เทียม ไม้สีเสียดแก่น และไม้ยูคาลิปตัสพบว่าไม้สี เสียดแก่นเหมาะที่จะนำ มาใช้เป็นถ่านหุงต้มมากกว่าไม้ยูคาลิปตัสและไม้เทียม
2. การควบคุมอุณหภูมิและอากาศถ้าสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในเตาถ่านขณะที่เผาถ่านให้คงที่ 400 องศาเซลเซียสก็จะได้ปริมาณเนื้อถ่านสูง แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะได้เนื้อถ่านน้อย ดังนั้นถ้าต้องการเร่งเวลาให้เผาถ่านเสร็จเร็ว โดยโหมเร่งไฟหน้าเตามาก ความร้อนจะเข้าไปในเตาเร็วและมาก ทำ ให้ไม้ฟืนในตัวเตาลุกติดไฟและเผาไหม้อย่างรวดเร็ว ผลผลิตถ่านที่ได้จะน้อยและคุณภาพไม่ดี มีปริมาณก๊าซจากเนื้อไม้มากถ่านจึงไม่แกร่งแต่ถ้าควบคุมอากาศและไฟหน้าเตาให้ค่อยเป็นค่อยไป ปริมาณก๊าซจากไม้ฟืนในเตาจะน้อยและทำ ให้ถ่านมีคุณภาพดีกว่า (สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์, 2549) สำ หรับประโยชน์ของถ่านไม้นอกเหนือจากการได้ถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการหุงต้มประกอบอาหาร ถ่านไม้ยังมีประโยชน์ในอีกหลายด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ใช้เป็นสารปรับปรุงบำ รุงดินเพราะถ่านมีรูพรุนมาก ช่วยดูดซับซับสารเคมีทางการเกษตรและปุ๋ยส่วนเกิน ช่วยรักษาผลผลิตไว้ให้สดได้นานเพราะช่วยดูดก๊าซเอททิลีนจากผัก ผลไม้เป็นต้น (อนาลยา หนานสายออ และคณะ, 2551) ด้านอุตสาหกรรม ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมีต่างๆ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมของปูนซิเมนต์ผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ผลิตฉนวน และผลิตธูป เป็นต้น และด้านปศุสัตว์ ใช้รองพื้นคอกสัตว์เพื่อดูดซับความชื้นและกลิ่น ผสมอาหารสัตว์เพื่อดูดซับแก๊สในกระเพาะและลำ ไส้เป็นต้น
ชนิดไม้และปัญหาในการเผาถ่าน
จากรายงานการใช้พลังงานของประเทศไทยในปี พ.ศ.2542 พบว่าประเทศไทยใช้ฟืนและถ่านคิดเป็น 16.7% แต่เมื่อพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำ หรับฟืนและถ่านได้ลดลงเหลือเพียง 25.62% ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ประโยชน์จากไม้ฟืนและถ่าน และพบว่าในปีพ.ศ.2557 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานหมุนเวียนดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นพลังงานจากฟืนและถ่านลดลงเหลือ 11.2% (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน, 2557)
ผลจากการมีพื้นที่ป่าไม้ลดลงทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ประโยชน์จากฟืนและถ่าน ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงแต่ละสภาพพื้นที่ของประเทศไทยพบว่ามีชนิดไม้ที่นำ มาใช้ในการเผาถ่านแตกต่างกันตามสภาพไม้ท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น เช่น ที่ภาคอีสานจะเป็นไม้พื้นถิ่นที่พบได้ทั่วไป เช่น เต็ง ยางเหียง แดง พลวง และตะคร้อ เป็นต้น โดยเป็นไม้ที่อยู่ตามหัวไร่ปลายนา หรือพื้นที่รกร้างว่างเปล่า และมีพืชสวนที่นิยมนำ มาใช้เผาถ่าน ได้แก่ มะม่วง และมะขาม การเผาถ่านในแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะใช้ไม้หลายชนิดรวมกัน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ไม้รวม”(อธิรัช ราชเจริญ, 2555)ส่วนที่อำ เภอน้ำ พอง จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานผลิตเยื่อกระดาษตั้งอยู่และมีการส่งเสริมให้มีการปลูกยูคาลิปตัสสำ หรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่อกระดาษทำ ให้พื้นที่รอบบริเวณดังกล่าวปลูกไม้ยูคาจำ นวนมาก ชาวบ้านจึงนิยมเผาถ่านด้วยไม้ยูคาลิปตัส แต่ไม้ชนิดนี้มีความต้องการสูงในการผลิตสินค้าหลายชนิด เช่น กระดาษเครื่องเรือน และเสาเข็ม เป็นต้น ทำ ให้ไม้มีราคาแพง จึงทำ ให้มีปัญหาต้นทุนสูงในการผลิตถ่าน(อนาลยา หนานสายออ, 2551) ที่ชุมชนหลายหมู่บ้านในเขต อําเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ใช้ไม้จากป่าบุ่งทามในเขตจังหวัดสุรินทร์แล้วขนข้ามแม่น้ำ มูลมาทำการเผาในเขตบ้านเรือนตนเอง หรือบางครัวเรือนตัดไม้ในเขตพื้นที่ของตนเองเป็นไม้รวม ได้แก่ ไม้เนาน้ำ ไม้หูลิง และไม้เสียว เป็นต้น ซึ่งเป็นไม้ที่หาได้ง่ายและงอกทดแทนได้เร็ว แต่ในปัจจุบันไม้เริ่มขาดแคลนและหายากมากขึ้น (ประสิทธิ์ คุณุรัตน์และคณะ, 2536) ส่วนที่ภาคกลาง ตำ บลยี่สาร อำ เภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนทำการเผาถ่านเป็นอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีพื้นที่สำ หรับปลูกไม้โกงกางเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการเผาถ่านของตนเอง เพื่อให้มีวัตถุดิบหมุนเวียนสามารถทำการผลิตถ่านได้อย่างต่อเนื่อง (อภิญญา ตันทวีวงศ์, 2543) ส่วนทางภาคใต้มีการทำอุตสาหกรรมการเผาถ่านที่อำ เภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยใช้วัตถุดิบจากเศษไม้ยางพาราที่เหลือจากการแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ในโรงเลื่อยของสวนยางพาราที่หมดสภาพใช้กรีดน้ำยางแล้ว ซึ่งเดิมเศษไม้เหล่านี้(ไม้ปีกยาง)จะถูกเผาทิ้ง แต่หลังจากป่าไม้โกงกางถูกปิดไป จึงมีการนำ เศษไม้ยางพาราเหล่านี้มาผลิตถ่านขาย
การเผาถ่านยังถูกมองว่าก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำ ไม้มาผลิตถ่าน และปัญหาเรื่องควันไฟในการเผาถ่านที่สร้างมลภาวะให้กับพื้นที่ใกล้เคียงและการเผาถ่านเองก็ยังเผชิญกับสภาวะปัญหาเรื่องไม้ที่ใช้ในการเผาถ่านหายากมากขึ้นเนื่องจากไม้ขนาดใหญ่ถูกโค่นลงเป็นจำ นวนมากโดยส่วนใหญ่ไม่มีการปลูกทดแทน จากเดิมที่เคยหาไม้ได้ในพื้นที่ใกล้หมู่บ้านก็ต้องออกไปหาวัตถุดิบยังแหล่งที่ไกลออกไป ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น จึงเกิดการปรับตัวทั้งด้านชนิดเตาและชนิดไม้ที่ใช้ในการเผาถ่าน ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้น เพื่อให้อาชีพเผาถ่านมีความยั่งยืนโดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงควรมีแนวทางการจัดการในพื้นที่ดังต่อไปนี้1)จัดหาพื้นที่ปลูกไม้โตเร็วหมุนเวียน หรือปลูกต้นไม้ทดแทนในพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีความยั่งยืน ดังเช่น การปลูกต้นไม้โกงกางในพื้นที่ส่วนตัวเพื่อใช้สำ หรับหมุนเวียนในการนำ มาเผาถ่านในพื้นที่ตำ บลยี่สารอำ เภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2)การใช้เศษกิ่งไม้ก้านไม้ทดแทนการใช้ลำต้นเพียงอย่างเดียว 3) จัดหาวัตถุดิบทางเลือก โดยดูจากสภาพแวดล้อมใกล้พื้นที่ เช่นที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น อยู่ใกล้โรงงานน้ำตาล มีการปลูกอ้อยจำ นวนมากจึงน่าจะสามารถนำ ใบและยอดอ้อยมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง 3)การปลูกต้นไม้ทดแทนในพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่อื่นๆ(อธิรัช ราชเจริญ, 2555) และ 4) ควรทำการเผาถ่านในพื้นที่ห่างไกลผู้คน หรือในพื้นที่ที่มีการปลูกต้นไม้เป็นแนวรอบสำ หรับป้องกันควัน
ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇
ที่มา Youtube Channel : สุทธิชาติ การ์เด็นท์
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=izsISHeRTps