Site icon วีดีโอ เกษตร VDO Kaset

(คลิป) วิธีต่อท่อ PVC ที่ขนาดต่างกัน ให้แน่นพอดีกัน โดยไม่ต้องใช้ข้อต่อ

(คลิป) วิธีต่อท่อ PVC ที่ขนาดต่างกัน ให้แน่นพอดีกัน โดยไม่ต้องใช้ข้อต่อ


วิธีต่อท่อ PVC ที่ขนาดต่างกัน ให้แน่นพอดีกัน โดยไม่ต้องใช้ข้อต่อ

ช่างประปาไม่ต้องการให้คุณรู้เคล็ดลับนี้ กับการต่อท่อ PVC ท่อน้ำประปา ที่มีขนาดไม่เท่ากัน โดยไม่ต้องใช้ข้อต่อ

รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปด้านบนกันได้เลย…

+++ ความรู้เพิ่มเติม +++

ท่อพีวีซี (PVC) ท่อพีอี (PE) และท่อพีบี (PB) คืออะไร

ท่อพีวีซี (PVC) เป็นชื่อเรียกที่คนทั่วไปรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี PVC ย่อมาจากคำว่า โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง เช่น มีความเหนียวยืดหยุ่นตัวได้ ทนต่อแรงดันน้ำได้ดี ทนต่อการกัดกร่อนของกรดหรือด่างได้ดี ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดีเพราะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เป็นวัสดุไม่ติดไฟ มีผิวมันเรียบช่วยให้การไหลของน้ำได้ดี มีน้ำหนักเบาและราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ เปราะ กรอบ และแตกหักง่าย ไม่ทนทานต่อแรงกระแทกและแสงแดดหรือแสงยูวี (UV)

ท่อพีวีซี ที่ใช้กันในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 4 เมตร ยกเว้นท่อพีวีซีบางประเภท ซึ่งอาจยาว 3 หรือ 6 เมตรบ้าง ท่อพีวีซี ที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด โดยแบ่งแยกการใช้งานตามสีต่างๆ เช่น สีฟ้า สีเหลือง สีเทา หรือสีขาว

ชนิดที่ 1 ท่อพีวีซีสีฟ้า ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน มอก.17-2532 (ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม) เป็นท่อที่นิยมใช้ในงานสุขาภิบาลในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อประปาสำหรับระบบน้ำดื่ม ซึ่งต้องรับแรงดันน้ำ หรือใช้กับระบบปั๊มน้ำ หรืองานท่อระบายน้ำ มีความหนาตามระดับการรับแรงกดดันได้ของท่อ โดยมีหน่วยระบุถึงความสามารถในการรับแรงกดดันได้ของท่อ เป็น กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร เช่น มาตรฐานท่อพีวีซีขนาด 8.5 หรือ 13.5 กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร (PVC-8.5 หรือ PVC-13.5) ใช้เป็นท่อประปาสำหรับระบบน้ำดื่มหรือระบบปั๊มน้ำ ซึ่งต้องรับแรงดันน้ำมาก สำหรับท่อระบายน้ำทิ่งหรือท่อน้ำโสโครกซึ่งไม่มีแรงดันน้ำ นิยมใช้มาตรฐานท่อขนาด 5 กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร (PVC-5) ท่อพีวีซีสีฟ้าเหล่านี้ เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคารหรือในที่ร่มเท่านั้น ไม่ควรใช้งานภายนอกอาคารที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดเนื่องจากไม่มนต่ออุณหภูมิที่สูง และไม่ควรใช้กับอาคารที่ทรุดตัวได้ง่าย เพราะจะทำให้ท่อแตกหักหรือฉีกขาดออกจากกันได้

ชนิดที่ 2 ท่อพีวีซีสีเหลือง ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน มอก.216-2524 (ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้ร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์) เป็นท่อที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์โดยเฉพาะ โดยคำนึงถึงมาตรฐานความเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นหลัก ท่อพีวีซีสีเหลืองนี้เหมาะสำหรับใช้ร้อยสายไฟภายในอาคารหรือในร่มเท่านั้น ไม่ควรใช้ร้อยสายไฟภายนอกอาคาร เพราะกฎของการไฟฟ้าฯ จะไม่อนุญาตให้ใช้

ชนิดที่ 3 ท่อพีวีซีสีเทา เป็นท่อที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานด้านการเกษตร เช่น เป็นท่อระบายน้ำทางการเกษตร หรือระบายน้ำสิ่งปฎิกูล หรือใช้ระบายน้ำในงานชั่วคราวที่ไม่ต้องรับแรงดันน้ำหรือไม่ต้องการความแข็งแรงของท่อมากนัก ราคาค่อนข้างถูก ท่อพีวีซีสีเทาที่ใช้งานด้านการเกษตรนี้ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม สำหรับท่อพีวีซีสีเทาใช้สำหรับระบายน้ำในงานอุตสาหกรรม ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อาจมีสารเคมีหรือของมีพิษระบายออกมาด้วย ต้องใช้ท่อมาตรฐาน มอก. 999-2533 (ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม)

สำหรับท่อพีอี (PE) นั้นย่อมาจากคำว่า โพลีเอทิลีน (polyethylene) ส่วนท่อพีบี (PB) ย่อมาจากคำว่า โพลีบิวทีลีน (polybutylene) ท่อพีอีและท่อพีบี เป็นท่อพลาสติกสีดำ ที่มีความหนาแน่นสูง ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน มอก.910-2532 (ท่อโพลิบิวทิลีนสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม) ทั้งท่อพีอีและท่อพีบี มีการผลิตได้สองรูปแบบคือ ชนิดอ่อนและชนิดแข็ง ชนิดอ่อนหมายถึง ท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ½ ถึง 4 นิ้ว ที่สามารถม้วนความยาวท่อได้ถึง 200 เมตร ส่วนชนิดแข็งหมายถึง ท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 นิ้ว ซึ่งจะม้วนและขนส่งได้ลำบาก จึงนิยมตัดเป็นท่อนๆ ความยาวท่อนละ 4 ถึง 6 เมตร

ท่อพีอีและท่อพีบีมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่น มีความยืดหยุ่นตัวและโค้งไปมาได้สูงมาก ทนแรงดันได้สูงถึง 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว ทนทานต่อการฉีกขาด ทนทานต่อแรงกระแทกได้เป็น 2 เท่าของท่อพีวีซี ทนทานต่อความร้อน/ความเย็น ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดี คงทนต่อสารเคมี มีผิวเรียบมัน จึงมีแรงเสียดทานในเส้นท่อน้อย ทนทานต่อแสงยูวี (UV) อายุใช้งานยาวนานถึง 50 ปี มีน้ำหนักเบากว่าท่อพีวีซีและท่อเหล็ก โดยมีน้ำหนักเพียง 2/3 ของท่อพีวีซี และ 1/5 ของท่อเหล็ก สำหรับข้อด้อยของท่อพีอีและท่อพีบีคือ ราคาค่อนข้างแพง การประกอบท่อจะต้องใช้อุปกรณ์หรือช่างที่ชำนาญงานโดยเฉพาะ ทั้งนี้ การต่อท่อพีอีและท่อพีบี สามารถทำได้ 3 แบบคือ แบบเชื่อมหลอมละลายด้วยความร้อน แบบใช้เครื่องมือผายปากท่อให้กว้างและยึดด้วยข้อต่อเกลียว และแบบกัดเกลียวที่ปลายท่อแล้วยึดด้วยข้อต่อเกลียว

ท่อพีอีและท่อพีบีสามารถนำไปใช้งานต่างๆ ได้มากมาย เช่น ใช้กับท่อประปาที่มีแรงดันสูง หรือต้องสัมผัสแสงแดด หรือต้องรับแรงกดในกรณีที่ท่อต้องลอดใต้ถนน ใช้ในงานท่ออุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ท่อแก๊ส ท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่อใต้น้ำ ท่อน้ำร้อน ท่อลำเลียงสารเคมี โดยท่อพีอี เหมาะสำหรับการใช้งานที่แรงกดดันสูงมาก หรือท่อที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น ใช้ในงานชลประทาน ใช้งานอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในงานท่อลอดใต้ดิน หรือลอดใต้แม่น้ำ ส่วนท่อพีบี เหมาะสำหรับการใช้งานที่แรงกดดันปานกลาง หรือท่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และนิยมใช้ในงานท่ออุตสาหกรรมที่ต้องทนความร้อนสูงกว่าท่อพีอี เช่น ใช้เป็นท่อน้ำร้อนสำหรับงานท่อประปาทั่วไป ใช้ในงานเกษตรกรรม และใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป

จากข้อมูลเกี่ยวกับ ชนิด คุณลักษณะ คุณสมบัติ และข้อดีข้อเสีย ต่างๆ ของท่อพีวีซี ท่อพีอีและท่อพีบี ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น หวังว่าท่านผู้ฟังทุกท่าน คงจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ท่อชนิดต่างๆ ได้เหมาะสมกับงานและเงินในกระเป๋าของท่านนะคะ

ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇


ที่มา Youtube Channel : เทคโนโลยีซอนไหล
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=zy9DIIn5mjg
Exit mobile version