(คลิป) แก้อาการชามือ ชาเท้า เร่งรัด 7 วัน : วีดีโอ เกษตร
แก้อาการชามือ ชาเท้า เร่งรัด 7วัน
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปด้านบนกันได้เลย…
ผักเสี้ยนผี ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย
ชื่อสมุนไพร ผักเสี้ยนผี
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ผักส้มเสี้ยน , ผักส้มเสี้ยนผี , ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) , ผักเสี้ยนตัวเมีย (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscosa Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cleome acutifolia Elmer,Polanisia icosandra (L.)Blume,Arivela viscosa (L.) Raf.,
ชื่อสามัญ Stining cleome, Wild caia ,yellow cleome, tickweed
วงศ์ Cleomaceae
ถิ่นกำเนิดผักเสี้ยนผี
ผักเสี้ยนผี เป็นพรรณพืชที่ยังไม่มีการระบุถึงถิ่นกำเนิดที่แน่นอน แต่มีข้อมูลการกระจายพันธุ์ของพืชชนิดนี้ว่ามีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปแอฟริกา อเมริกา และเอเชีย เช่นในประเทศ อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เนปาล และภูฎาน เป็นต้นส่วนในประเทศไทยจัดให้ผักเสี้ยนผีเป็นวัชพืชที่ขึ้นรบกวน ผลผลิตทางการเกษตรชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักพบตามที่รกร้างว่างเปล่า ตามริมถนนหนทาง ตามชายป่าทั่วๆไป รวมถึงพบในแปลงพืชผลทางการเกษตรต่างๆอีกด้วย
ประโยชน์และสรรพคุณผักเสี้ยนผี
– ช่วยเจริญไฟธาตุ
– แก้ปวดท้อง
– แก้ท้องร่วง
– แก้ลม
– แก้ลงท้อง
– แก้ฝีภายใน
– ทำให้หนองแห้ง
– แก้พิษฝี
– แก้ไข้ตรีโทษ
– ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม
– แก้โรคไขข้ออักเสบ
– แก้โรคผิวหนัง
– ใช่หยอดหูแก้หูอักเสบ
– แก้ฝีในปอด
– ช่วยขับหนองฝี
– ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
– แก้ปัสสาวะพิการ
– ช่วยขับลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ
– ใช่เป็นยาระบายอ่อนๆ
– ใช้พอกแก้ปวดศีรษะ
– แก้ปวดหลัง
– ใช้ฆ่าเชื้อโรค
– ช่วยฆ่าพยาธิผิวหนัง
– ใช้ฆ่าพยาธิ
– ช่วยกระตุ้นหัวใจ
– แก้วัณโรค
– แก้โรคผอมแห้งของสตรี
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
– ช่วยทำให้หนองแห้ง
– แก้ลมอัมพฤกษ์
– ช่วยบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา
ผักเสี้ยนผีสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้โดยใช้ยอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน มาดองเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือใช้เป็นเครื่องเคียงในขนมจีน , ส้มตำ ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย
ลักษณะทั่วไปผักเสี้ยนผี
ผักเสี้ยนผี จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก มีขนปกคลุมตลอดทั้งลำต้นและกิ่งก้านยังมีเมือกเหนียวตามขนที่ขึ้นปกคลุม มีกลิ่นฉุนแรกโดยต้นของผักเสี้ยนผีสามารถสูงได้ถึง 1 เมตร ใบออกเป็นใบประกอบยื่นออกเป็นแฉก มีใบย่อย 3 หรือ 5 ใบ เรียงเวียน ก้านใบยาว 0.5-6 เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปไข่กลับ กว้าง 0.5-2 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ใบกลางมักจะใหญ่กว่าใบย่อยด้านข้าง ปลายแหลมมน โคนรูปลิ่ม ของใบเรียบหรือเป็นคลื่นเส้นน้อย ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจะออกตามเรือนยอดและปลายกิ่ง ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเกลี้ยง 4 กลีบ เป็นรูปช้อน โคนสอบเรียว โดยกลีบดอกจะมีขนาด 0.5-1.5 เซนติเมตร ใน 1 ดอกจะมีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ผลออกเป็นฝักรูปทรงกระบอก กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 1-10 เซนติเมตร มีสันนูนๆขึ้นตามความยางของฝัก และมีขนขึ้นปกคลุมทั้งฝัก ปลายฝักมีจะงอยแหลมๆ ในฝักประกอบด้วยเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นเมล็ดกลมแป้นขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร ผิวขรุขระ เมล็ดมีสีน้ำตาลแดง
การขยายพันธุ์ผักเสี้ยนผี
ผักเสี้ยนผีสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยใช้เมล็ดแก่จัดที่มีสีดำมาตากให้แห้ง แล้วนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์ โดยมีวิธีการปลูกดังนี้ เตรียมแปลงให้ให้มีความกว้าง 1-1.5 เมตร แล้วใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจึงหว่านเมล็ดพันธุ์ผักเสี้ยนผีที่เตรียมไว้ให้ทั่วแปลงกลบด้วยดินบางๆ ใช้ฟางคลุมรดน้ำให้ชุ่มและเมื่อหลังจากการปลูก ประมาณ 1 อาทิตย์ ผักเสี้ยนผีจะเริ่มงอกขึ้นมา และเมื่อปลูกได้ประมาณ 120 วัน จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้แก้ลมลงท้อง ช่วยแก้ฝีภายใน แก้อักเสบต่างๆ แก้ท้องร่วง ช่วยเจริญไฟธาตุ โดยใช้ผักเสี้ยนผีแห้งทั้งต้น มาต้มกับน้ำดื่ม แก้ปวดศีรษะโดยใช้ต้นผักเสี้ยนผีสดทั้งต้นตำพอกศีรษะ แก้วัณโรค แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน กระตุ้นหัวใจ โดยใช้รากแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม เมล็ดแห้งใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้น้ำเหลืองเสีย กระตุ้นหัวใจ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้การหูอื้อ คันหู ใช้ใบผักเสี้ยนผีสดประมาณ 3-4 ใบนำมาขยี้พอช้ำ แล้วใช้อุดที่หู เมล็ดนำมาต้มหรือชงดื่ม
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ศึกษาการเหนี่ยวนำสารในกระบวนการอักเสบของสารกลุ่ม coumarinolignoid จำนวน 3 ชนิด คือ cleomiscosins A, B,C ที่แยกได้จากเมล็ดผักเสี้ยนผี ในหนูถีบจักรสายพันธุ์ swiss albinoโดยการป้อนสารผสมของ coumarinolignoid A, B และ C ในขนาด 10, 30 และ 100 mg/kg วันละครั้ง เป็นระยะเวลา 14 วัน ผลการวิจัยพบว่าสารทดสอบขนาด 10 mg/kg ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด ในการลดการแสดงออกของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบเริ่มต้น ได้แก่ IL-6, TNF-αและ nitric oxide ได้ (ทดสอบโดยใช้ LPS เป็นสารกระตุ้นการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจของหนู) และสารทดสอบขนาด 10 mg/kg ออกฤทธิ์ดีที่สุด ในการเพิ่มการแสดงออกของสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ คือ IL-4 โดยหนูมีอัตราการตายลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบหลังได้รับสารทดสอบ 14 วัน ต่อเนื่อง แล้วจึงฉีด LPS ในขนาด 250 μg/kgแก่หนู บันทึกอัตราการตาย พบว่าสาร coumarinolignoidทำให้หนูตาย 1 ตัวจาก 6 ตัว คิดเป็น 16.66 % ส่วนหนูที่ได้รับ LPS แต่ไม่ได้รับสารสกัดพบว่าอัตราการตายเป็น 100 %
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ของสารสกัดใบผักเสี้ยนผี ด้วย petroleum ether, chloroform, methanol และ water จากการศึกษาพบว่าสารสกัดผักเสี้ยนผีใน petroleum ether และ chloroform ไม่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ในขณะที่สารสกัด methanol แสดงฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl scavenging (DPPH) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 56.39 μg/ml และจับอนุมูลซูเปอร์ออกไซด์ (superoxide scavenging activity) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 919.70 μg/ml
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสีย เมื่อนำสารสกัดเมทานอลของผักเสี้ยนผีทั้งต้น ไปทดสอบในหนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านการบีบตัว และขับเคลื่อนของเสียออกจากร่างกายอย่างแรง
ฤทธิ์สมานแผล มีศึกษาฤทธิ์สมานแผล ในหนูถีบจักรเพศผู้ สายพันธุ์ swiss albino โดยทาสารสกัดใบผักเสี้ยนผีที่สกัดด้วยเมทานอล (2.5 % w/w) และยามาตรฐาน gentamicin sulfate ในรูปแบบ hydrogel ให้หนูแต่ละกลุ่ม พบว่าสามารถเพิ่มความสามารถในการทำให้แผลติดกันได้อย่างมีนัยสำคัญ 75.30 % และ 78.74 % ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยดูผลหลังจากผ่านไป 12 วัน จากการตรวจสภาพผิวหนัง พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของเซลล์เยื่อบุผิวหนัง (fibroblast) และเซลล์รากขน (hair follicle)
ฤทธิ์แก้ไข้ ศึกษาฤทธิ์แก้ไข้ของสารสกัดทั้งต้นผักเสี้ยนผี ด้วย 90%เมทานอล โดยใช้ยีสต์กระตุ้นให้เกิดไข้ ในหนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์ ด้วยวิธีฉีดเข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้นจึงให้สารสกัดผักเสี้ยนผีแก่หนู ผลการศึกษาโดยการวัดอุณหภมิหนูทางทวารหนัก พบว่าสารสกัดผักเสี้ยนผีขนาด 200, 300 และ 400 mg/kg สามารถลดไข้ในหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีผลลดไข้ได้เป็นเวลา 5 ชั่วโมง ภายหลังจากการได้รับสารสกัด โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน paracetamol ในขนาด 150 mg/kg
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียพบว่า สารสกัดเอทานนอลของใบและดอกมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Proteus vulgaris, Pseudomonas aeruginosa ส่วนสารเคอร์ซิทิน 3-โอ.(2”-แอซิทิล)-กลูโคไซด์ ที่สกัดจากดอกมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ขณะที่สารสกัดเมทานอลองใบมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori
ฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและต้านการแพ้ มีศึกษาฤทธิ์ในระบบภูมิคุ้มกันของส่วนเหนือดินของผักเสี้ยนผี ในหนูถีบจักร โดยให้สารสกัดน้ำ และเอทานอล แก่หนูแต่ละกลุ่ม ในขนาดต่าง ๆ คือ 50, 100, 150 mg/kgโดยการฉีดเข้าช่องท้อง เป็นเวลา 7 วัน จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทำให้จำนวนของเม็ดเลือดขาวลดลง จำนวน lymphocyte ในม้ามลดลง ขบวนการกลืนกินเชื้อโรคแบบ phagocyticลดลง และลดการตอบสนองของ antibody โดยสารสกัดเอทานอล ขนาด 150 mg/kgออกฤทธิ์ดีที่สุด การทดสอบภาวะภูมิไวเกิน (ภูมิแพ้) ชนิด Delayed hypersensitivity หรือภาวะภูมิไวเกินที่เกิดอาการของโรคภายหลังได้รับแอนติเจนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิด สามารถลดการแพ้ได้ โดยลดการบวมที่อุ้งเท้าหนูถีบจักรได้ โดยมีการบวมในกลุ่มควบคุมเท่ากับ 34±0.9% ส่วนสารสกัดเอทานอลและน้ำ มีการบวมคิดเป็น 15.±0.4%, 25.6±0.4% ตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงการลดการแพ้ในภาวะภูมิไวเกินได้มากกว่ากลุ่มควบคุม
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ในการใช้ผักเสี้ยนผีเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยการใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง ก่อนจะใช้ผักเสี้ยนผีเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇
ที่มา Youtube Channel : อีสาน บ่เจ้า
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=BovlAALAX-4